หลักสูตรวิศวกรรมศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาวิศวกรรมโลหการ มีวัตถุประสงค์เพื่อ:
PEO 1 |
ผลิตบัณฑิตให้เป็นวิศวกรโลหการที่สามารถปฏิบัติงานในฐานะวิศวกรโลหการที่สามารถสร้างคุณค่าให้กับองค์กรและสังคม
To produce graduates to be metallurgical engineers who can work as metallurgical engineers who can create value for organizations and society.
|
PEO 2 |
ผลิตบัณฑิตให้เป็นวิศวกรโลหการที่สามารถพัฒนาตนเองในด้านการทำงานร่วมกันเป็นทีมแบบบูรณาการสหสาขาวิชา
To produce graduates to be metallurgical engineers who can develop themselves in working together as a multidisciplinary team.
|
PEO 3 |
ผลิตบัณฑิตให้เป็นวิศวกรโลหการที่สามารถพัฒนาตนเองในด้านองค์ความรู้อื่น ๆ และเทคโนโลยีที่มีการเปลี่ยนแปลงพัฒนาอย่างต่อเนื่อง
To produce graduates to be metallurgical engineers who can develop themselves in other areas of knowledge and technology that is continuously changing and developing.
|
PEO 4 |
ผลิตบัณฑิตให้เป็นวิศวกรโลหการที่สามารถสื่อสารเพื่อการทำงานแบบบูรณาการสหสาขาวิชาได้อย่างมีประสิทธิภาพ
To produce graduates to be metallurgical engineers who can communicate effectively in integrated multidisciplinary work.
|
เมื่อสำเร็จการศึกษาแล้ว ผู้เรียนสามารถ:
PLO 1 |
สามารถระบุ กำหนดกรอบปัญหา สืบค้นข้อมูลและวิเคราะห์ปัญหาที่ซับซ้อนทางวิศวกรรมเพื่อนำไปสู่การแก้ปัญหาได้โดยใช้ความรู้ทางด้านคณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ วิศวกรรมพื้นฐาน และวิศวกรรมเฉพาะทางโลหการ
Ability to identify, formulate, research and analyze complex engineering problems leading to solutions using principles of mathematics, sciences, basic engineering and metallurgical engineering.
|
PLO 2 |
สามารถออกแบบและวางแผนการดำเนินงานในกระบวนการด้านวิศวกรรมโลหการต่าง ๆ ตามความต้องการและข้อกำหนดงานได้อย่างเหมาะสม ภายใต้ข้อกำหนดด้านการอนามัยและความปลอดภัย วัฒนธรรม สังคมและสิ่งแวดล้อม หรือมาตรฐานหลักปฏิบัติวิชาชีพ
Ability to design and plan metallurgical process operations that meet specified needs and job requirements with appropriate consideration for public health and safety, cultural, societal, environmental considerations, and/or professional code of practices
|
PLO 3 |
สามารถหาข้อสรุปของปัญหาที่ซับซ้อนทางวิศวกรรมโลหการได้อย่างถูกต้องเหมาะสม โดยใช้ระเบียบวิธีวิจัย ประกอบด้วยการตรวจสอบและวินิจฉัยปัญหา สืบค้นข้อมูล ตั้งสมมติฐาน ออกแบบการทดลอง วิเคราะห์ แปลความหมายข้อมูล และสังเคราะห์ข้อมูลใหม่ได้อย่างเหมาะสมตามหลักเหตุผล โดยใช้พื้นฐานความรู้ทั้งภาคทฤษฎีและทักษะการปฏิบัติ
Ability to provide valid conclusions to complex metallurgical engineering problem using research methodology, including investigation and evaluation of problems and research review, hypothesis construction, design of experiments, analysis, interpretation and synthesize new information logically and applicably based on theory and practice knowledge
|
PLO 4 |
สามารถเลือกใช้และประยุกต์ใช้อุปกรณ์ เครื่องมือพื้นฐาน เครื่องทดสอบ เครื่องมือวิเคราะห์และซอฟต์แวร์ที่สำคัญสำหรับการทำงานในภาคอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้องกับวิศวกรรมโลหการได้ โดยตระหนักถึงข้อกำหนดและข้อจำกัดของเครื่องมือและอุปกรณ์นั้น
Ability to select and apply important equipment, basic apparatus, testing machines, analytical instruments and software to metallurgical engineering industrial works with an understanding of the limitations
|
PLO 5 |
สามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิผลร่วมกันเป็นทีม สร้างความร่วมมือ รับผิดชอบในหน้าที่ มีทัศนคติที่ดีในการทำงาน เข้าใจวัฒนธรรมการทำงานและเป้าหมายขององค์กร
An ability to function effectively as a team, create a collaborative, fulfill individual responsibilities, demonstrate positive work attitudes, and comprehend corporate culture and goals
|
PLO 6 |
สามารถสื่อสารในงานวิศวกรรมโดยใช้ภาษาและศัพท์ทางเทคนิคได้อย่างมีประสิทธิภาพ สามารถจัดการเอกสารและเขียนรายงาน รวมถึงใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการสื่อสารและการนำเสนอได้
Ability to communicate effectively with technical languages and terms in engineering works such as documentation and reporting, along with the use of information technology for communication and presentations
|
PLO 7 |
เข้าใจและตระหนักถึงจรรยาบรรณวิชาชีพของวิศวกรโลหการ และรับผิดชอบตามกรอบมาตรฐานการประกอบวิชาชีพที่สอดคล้องกับบริบทองค์กร สังคมและสิ่งแวดล้อม
Appreciate professional ethics for metallurgical engineers and responsible for engineering professional practice in organization, societal and environmental contexts
|
PLO 8 |
มีความรู้และความเข้าใจในหลักทางเศรษฐศาสตร์และการบริหารงานวิศวกรรมโดยคำนึงถึงความเสี่ยงและการเปลี่ยนแปลง
Demonstrate knowledge and understanding of economics principles and engineering management under consideration of risk and uncertainties
|
PLO 9 |
สามารถเรียนรู้ด้วยตนเองและเรียนรู้ตลอดชีวิตได้ ใฝ่รู้ในเทคโนโลยีและสังคมที่มีการเปลี่ยนแปลงเพื่อพัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่อง
Ability to engage independent and life-long learning, passion to learn in the context of technological and social changes for continuous self-improvement
|
จำนวนหน่วยกิตรวม (ไม่น้อยกว่า) 191 หน่วยกิต
สามารถศึกษาต่อในหลักสูตรวิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาวิศวกรรมวัสดุ ที่สำนักวิชาวิศวกรรมศาสตร์ มทส. หรือสถาบันการศึกษาชั้นนำอื่น ๆ ทั้งในและต่างประเทศ
Students can continue their studies in the M.Eng. in Materials Engineering at the Institute of Engineering, SUT or other leading educational institutes, both domestic and international.
สาขาวิชาวิศวกรรมโลหการ มีความแข็งแกร่งทั้งในวิชาการและวิชาชีพ นักศึกษาจะได้เรียนรู้ทั้งหลักวิชาการและหลักการปฏิบัติเพื่อให้สามารถลงมือทำได้ คิดวิเคราะห์ และแก้ปัญหาในการทำงานได้ เพื่อให้นำไปใช้ในการประกอบวิชาชีพวิศวกรโลหการและสร้างความก้าวหน้าต่อไปในอนาคต
ให้เลือกเรียนรายวิชาใด ๆ ที่เปิดสอนในมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี
Choose to study any course offered at the Suranaree University of Technology.