BEng in Manufacturing Automation and Robotics Engineering

หลักสูตรวิศวกรรมศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาวิศวกรรมการผลิตอัตโนมัติและหุ่นยนต์

Manufacturing Automation and Robotics Engineering

หลักสูตรนี้ เหมาะสำหรับผู้ที่สนใจเทคโนโลยีการผลิตอัตโนมัติที่ทันสมัยในยุค Industrial 4.0 ที่จะทำให้ผู้เรียนสามารถใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีมาช่วยแก้ปัญหาด้านการผลิตซึ่งประกอบไปด้วยการออกแบบขั้นตอนการผลิตและประกอบชิ้นส่วนผลิตภัณฑ์ การออกแบบและวางแผนระบบการผลิต การออกแบบเครื่องมืออุปกรณ์ช่วยผลิต การเลือกใช้อุปกรณ์และควบคุมระบบอัตโนมัติ เพื่อให้ระบบทำงานอย่างมีประสิทธิภาพ รวมถึงการสร้างความได้เปรียบด้วยการบริหารคุณภาพ และที่จะขาดไม่ได้สำหรับโลกการผลิตยุคใหม่ คือการใช้ IT มาจัดการและนำเสนอข้อมูลการผลิตแบบเรียลไทม์ออนไลน์

กิจกรรมการเรียนการสอนจะเป็นแบบเรียนรายวิชาไปควบคู่กับการทำโครงงาน โดยโครงงานส่วนใหญ่จะได้โจทย์มาจากภาคอุตสาหกรรมการผลิตจริง หลักสูตรเน้นให้ผู้เรียนทำงานเป็นทีม มีการนำเสนองานด้วยวิธีการที่หลากหลาย ฝึกให้แสวงหาความรู้ใหม่ ๆ ซึ่งจะทำให้มั่นใจได้ว่าผู้ที่สำเร็จการศึกษาจะสามารถปรับตัวได้เป็นอย่างดีในยุคที่เทคโนโลยีเติบโตอย่างรวดเร็ว

ศิษย์เก่าที่จบไปยืนยันว่าสามารถทำงานได้แทบจะทุกตำแหน่งงานในอุตสาหกรรมการผลิต ตามคำกล่าวที่ว่า

“ที่ไหนมีการผลิตที่นั่นมีเรา”

ข้อมูลทั่วไป

General Info

ชื่อปริญญา

ชื่อเต็ม
วิศวกรรมศาสตรบัณฑิต (วิศวกรรมการผลิตอัตโนมัติและหุ่นยนต์)
Bachelor of Engineering (Manufacturing Automation and Robotics Engineering)

ชื่อย่อ
วศ.บ. (วิศวกรรมการผลิตอัตโนมัติและหุ่นยนต์)
B.Eng. (Manufacturing Automation and Robotics Engineering)

รูปแบบของหลักสูตร

ภาษาไทย ภาคปกติ
ระยะเวลา: 4 ปี
จำนวนรับเข้า (ประมาณ): 90 คน

ปีที่ออกหลักสูตร

หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2564
สำหรับนักศึกษารหัส B63 เป็นต้นไป

คุณสมบัติผู้สมัครเข้าศึกษา

ผู้สมัครต้องเป็นผู้สำเร็จการศึกษาชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 สายสามัญ
(เป็นไปตามข้อบังคับมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี ว่าด้วย การศึกษาขั้นปริญญาตรี พ.ศ. 2566 หมวด 1 ข้อ 7.1)

ค่าเล่าเรียน

ปีการศึกษาละ ประมาณ 45,400 บาท
ตลอดหลักสูตร ประมาณ 181,600 บาท
(รวมไม่น้อยกว่า 175 หน่วยกิต)

สถิติหลักสูตร

อัตราการได้งานทำภายใน 1 ปี มากกว่า 90%

จำนวนรับเข้าและสำเร็จการศึกษาภายในเวลาที่กำหนดกว่ารุ่นละ 70%

มาตรฐานหลักสูตร

เป็นไปตามมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษา กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.)

ได้รับการรับรองมาตรฐานคุณภาพการศึกษาวิศวกรรมศาสตร์ (TABEE) สภาวิศวกร ผู้สำเร็จการศึกษาสามารถสอบใบประกอบวิชาชีพ (กว.) วิศวกรรมอุตสาหการได้

อุปกรณ์ที่จำเป็น

แล็ปท็อปคอมพิวเตอร์
แท็บเล็ตพีซี เช่น iPad

การย้ายสาขาวิชา

เป็นไปตามประกาศสำนักวิศวกรรมศาสตร์ เรื่อง การย้ายสาขาวิชา

Contact Info

สาขาวิชาวิศวกรรมการผลิต

อาคารวิชาการ 1 ชั้น 2
มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี
111 ถนนมหาวิทยาลัย ตำบลสุรนารี
อำเภอเมือง จังหวัดนครราชสีมา 30000

+66 4422 4411
mae@sut.ac.th

วันจันทร์ – ศุกร์ เวลา 8:30 – 16:30 น.

Website

Social Info

Course Lists

PEOs
PLOs
Structure
Careers
Further Studies
วัตถุประสงค์ทางการศึกษาของหลักสูตร

Program Educational Objectives

หลักสูตรวิศวกรรมศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาวิศวกรรมการผลิตอัตโนมัติและหุ่นยนต์ มีวัตถุประสงค์เพื่อ:

PEO 1
สร้างมูลค่าให้กับองค์กรและสังคมโดยการประยุกต์ใช้หลักการ ทักษะ และเทคโนโลยีทางวิศวกรรมการผลิต รวมถึงการวิเคราะห์ ออกแบบ และแก้ปัญหาทางวิศวกรรม
Graduates create value to organizations through the analysis, evaluation, and improvement of engineered systems and processes using appropriate manufacturing engineering methods and tools.
PEO 2
สื่อสารอย่างมีประสิทธิภาพข้ามศาสตร์และวัฒนธรรม เพื่อจัดการและ/หรือเป็นผู้นำในกิจกรรมต่าง ๆ ที่สนับสนุนเป้าหมายและวัตถุประสงค์ขององค์กร
Graduates communicate effectively across disciplines and cultures to manage and/or lead activities in support of organizational goals and objectives.
PEO 3
พัฒนาตนเองตลอดเส้นทางอาชีพเพื่อเพิ่มพูนความรู้ทางด้านวิศวกรรมศาสตร์และเทคโนโลยีในการมีส่วนร่วมอย่างมีนัยสำคัญกับนวัตกรรมเทคโนโลยี
Graduates pursue lifelong learning in generating innovative engineering solutions using research and complex problem-solving skills.
ผลลัพธ์การเรียนรู้ของหลักสูตร

Program Learning Outcomes

เมื่อสำเร็จการศึกษาแล้ว ผู้เรียนสามารถ:

PLO 1
อธิบายความรู้พื้นฐานด้านวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ และวิศวกรรมศาสตร์
Express the principles of science, mathematics, and engineering.
PLO 2
ออกแบบลำดับกระบวนการผลิตภายใต้ข้อกำหนดที่เป็นไปได้จริงและมาตรฐานที่เหมาะสมต่าง ๆ เช่น ปัจจัยด้านสาธารณสุขและความปลอดภัย ตลอดจนปัจจัยสากล สิ่งแวดล้อม และเศรษฐกิจ
Design sequence of manufacturing processes within realistic constraints and appropriate standards, for instance, public health and safety, as well as global, environmental, and economic factors.
PLO 3
ออกแบบโครงสร้างและกลไกของอุปกรณ์และเครื่องมือ รวมถึงเลือกชิ้นส่วนเครื่องจักรกลเชิงพาณิชย์ โดยคำนึงถึงด้านเทคนิคและเศรษฐศาสตร์ เพื่อสนับสนุนการผลิตตามความต้องการใช้งานภายใต้ข้อกำหนดที่เป็นไปได้จริงและมาตรฐานความปลอดภัยที่เหมาะสม
Technically and economically design structure and mechanism of equipment and tools, as well as, select commercial machine elements to support manufacturing based on functional requirements, realistic constraints, and appropriate safety standards.
PLO 4
บูรณาการส่วนประกอบของระบบอัตโนมัติในระบบอุตสาหกรรมเพื่อเสนอและเลือกแนวทางแก้ปัญหาที่เหมาะสมทั้งในด้านประสิทธิภาพและด้านเศรษฐศาสตร์เพื่อทำให้กระบวนการผลิตทันสมัย
Integrate industrial automation components to propose and select suitable solutions that efficiently and economically modernize manufacturing processes.
PLO 5
ระบุสาเหตุของปัญหาที่ซับซ้อนเพื่อพัฒนาปรับปรุงประสิทธิภาพของระบบกระบวนการผลิต โดยพิจารณาด้านสมดุลสายการผลิต ควบคู่กับหลักการยศาสตร์และความปลอดภัย
Identify root causes of complex problems to develop and improve the efficiency of manufacturing systems with consideration of line balancing together with ergonomic and safety.
PLO 6
ระบุปัญหา วิเคราะห์ข้อมูลและหาสาเหตุ เพื่อเพิ่มโอกาสในการสร้างมูลค่าเพิ่มโดยใช้เครื่องมือทางด้านคุณภาพหรือลีนซิกซ์ซิกมา เพื่อหาแนวทางที่เหมาะสมโดยพิจารณาถึงการลดต้นทุน การลดความสูญเสีย และการเพิ่มผลิตภาพ
Identify and analyze data and causes to find value-added opportunities using QC tools or Lean Six Sigma to produce appropriate solutions with consideration of cost and waste reduction, and productivity.
PLO 7
ระบุปัญหาในการจัดการข้อมูลของระบบการผลิตสมัยใหม่และเสนอแนวทางแก้ไขด้วยเครื่องมือเทคโนโลยีสารสนเทศซึ่งสามารถสื่อสาร วิเคราะห์ รวมถึงแสดงผลข้อมูลและผลการวิเคราะห์
Identify data management issues in modern manufacturing and produce information technology solutions that capable of communicating, analyzing, and visualizing the data and results.
PLO 8
สามารถประยุกต์ใช้พื้นฐานทางคณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ และการออกแบบเชิงวิศวกรรม เพื่อหาผลลัพธ์ของปัญหาทางการผลิตเชิงอุตสาหกรรมทั้งแบบระบบดั้งเดิมและทันสมัย ที่ตรงกับความต้องการของผู้ใช้โดยคำนึงถึงปัจจัยที่เกี่ยวข้องทั้งทางด้านเทคนิคและอื่น ๆ เช่น การสาธารณสุข ความปลอดภัย สวัสดิภาพของประชาชน ปัจจัยสากล วัฒนธรรม เศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม รวมถึงดำเนินการทดสอบทดลองที่เหมาะสม วิเคราะห์และแปลผลข้อมูลอย่างมีวิจารณญาณ เพื่อสรุปผลลัพธ์ที่ได้นำเสนอ
Apply principles of science, mathematics, and engineering design to produce solutions for both traditional and modern industrial manufacturing problems that meet specified needs with consideration of technical knowledge and other aspects, for examples, public health, safety, and welfare, as well as global, cultural, social, environmental, and economic factors; also, develop and conduct appropriate experimentation, analyze and interpret data, and use engineering judgment to draw conclusions.
PLO 9
รับผิดชอบในหน้าที่ตามกรอบมาตรฐานการปฏิบัติวิชาชีพและจรรยาบรรณแห่งวิชาชีพวิศวกรรม มีวิจารณญาณ การพิจารณาตัดสินใจ ที่ต้องคำนึงถึงผลกระทบในบริบทของความเป็นสากล เศรษฐกิจ สิ่งแวดล้อม และสังคม
Recognize ethical and professional responsibilities in engineering situations and make informed judgments, which must consider the impact of engineering solutions in global, economic, environmental, and societal contexts.
PLO 10
ติดต่อสื่อสารได้อย่างมีประสิทธิผลกับผู้รับที่หลากหลาย ทั้งทางวาจา การเขียน และกราฟฟิก
Effectively communicate to a range of audiences by the use of speaking, writing, and graphics.
PLO 11
แสวงหาและประยุกต์ใช้ความรู้ใหม่ตามต้องการได้ ด้วยการใช้กลยุทธ์การเรียนรู้ที่เหมาะสม
Acquire and apply new knowledge as needed, using appropriate learning strategies.
PLO 12
ทำงานเป็นทีมอย่างมีประสิทธิผล โดยสมาชิกในทีมส่งเสริมให้เกิดความเป็นผู้นำ สร้างการมีส่วนร่วมและบรรยากาศการทำงานร่วมกัน กำหนดเป้าหมาย แผนงาน จนทำให้งานสำเร็จ
Function effectively on a team whose members together provide leadership, create a collaborative and inclusive environment, establish goals, plan tasks, and meet objectives.
จำนวนหน่วยกิต

Credits

จำนวนหน่วยกิตรวม (ไม่น้อยกว่า) 175 หน่วยกิต

โครงสร้างหลักสูตร

Program Structure

กลุ่มอาชีพเป้าหมายเมื่อจบการศึกษา

Career Opportunities

  • วิศวกรในภาครัฐ ภาคเอกชน และรัฐวิสาหกิจ เช่น วิศวกรออกแบบการผลิต วิศวกรควบคุมกระบวนการผลิต วิศวกรการผลิต วิศวกรวางแผนการผลิต วิศวกรควบคุมคุณภาพ วิศวกรออกแบบ วิศวกรระบบอัตโนมัติ
  • อาจารย์ในภาครัฐและภาคเอกชน
  • นักวิจัย
  • ประกอบธุรกิจส่วนตัว
การศึกษาต่อในระดับที่สูงขึ้น

Further Studies

สามารถศึกษาต่อในหลักสูตรวิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาวิศวกรรมเครื่องกลและระบบกระบวนการ ที่สำนักวิชาวิศวกรรมศาสตร์ มทส. หรือสถาบันการศึกษาชั้นนำอื่น ๆ ทั้งในและต่างประเทศ
Students can continue their studies in the M.Eng. in Mechanical and Process System Engineering at the Institute of Engineering, SUT or other leading educational institutes, both domestic and international.

อย่ารอช้า… มาเริ่มต้นเรียนรู้และสร้างสรรค์กับหลักสูตรวิศวกรรมการผลิตอัตโนมัติและหุ่นยนต์ของเราได้เลย!

รายวิชาของหลักสูตร

Course Lists

General Education
Courses

หมวดวิชาศึกษาทั่วไป

Major
Courses

หมวดวิชาเฉพาะ

Cooperative Education Courses

หมวดวิชาสหกิจศึกษา

Free Elective
Courses

หมวดวิชาเลือกเสรี
หมวดวิชาศึกษาทั่วไป

General Education Courses

กลุ่มวิชาแกนศึกษาทั่วไป

General Education Core Courses

กลุ่มวิชาภาษา

Language Courses

กลุ่มวิชาศึกษาทั่วไปแบบเลือก

Elective General Education Courses

หมวดวิชาเฉพาะ

Major Courses

กลุ่มวิชาพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์

Science and Mathematics Foundation Courses

กลุ่มวิชาพื้นฐานทางวิศวกรรมศาสตร์

Basic Engineering Courses

กลุ่มวิชาชีพบังคับทางวิศวกรรมการผลิตอัตโนมัติและหุ่นยนต์

Major Manufacturing Automation and Robotics Engineering Courses

กลุ่มวิชาเลือกทางวิศวกรรมการผลิตอัตโนมัติและหุ่นยนต์

Manufacturing Automation and Robotics Engineering Elective Courses

กลุ่มการออกแบบเพื่อการผลิต

Design for Manufacturing

กลุ่มการจัดการระบบอุตสาหกรรม

Manufacturing System Management

กลุ่มระบบอัตโนมัติ

Industrial Automation

กลุ่มทั่วไป

General Topics

หมวดวิชาสหกิจศึกษา

Cooperative Education Courses

หมวดวิชาเลือกเสรี

Free Elective Courses

ให้เลือกเรียนรายวิชาใด ๆ ที่เปิดสอนในมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี
Choose to study any course offered at the Suranaree University of Technology.