BEng in Industrial Engineering and Data Management

หลักสูตรวิศวกรรมศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาวิศวกรรมอุตสาหการและการจัดการข้อมูล

Industrial Engineering and Data Management

มาเรียนรู้เทคนิคและทักษะการเป็นวิศวกรอุตสาหการมืออาชีพด้วยหลักสูตรที่ออกแบบมาเพื่อตอบโจทย์อุตสาหกรรมยุคใหม่ เรามุ่งเน้นการเรียนรู้แบบบูรณาการ ทั้งการฝึกปฏิบัติในห้องเรียน การศึกษาดูงานในโรงงานอุตสาหกรรมชั้นนํา และการทําโครงงานร่วมกับผู้เชี่ยวชาญในสายงาน นอกจากความรู้ด้านทฤษฎีแล้ว เรายังมุ่งเน้นการพัฒนาทักษะที่จําเป็นต่อการทํางานจริงในอุตสาหกรรม เช่น การแก้ปัญหา การคิดวิเคราะห์ การทํางานเป็นทีม ซึ่งจะช่วยให้คุณพร้อมเป็นวิศวกรมืออาชีพอย่างแท้จริง

หลักสูตรวิศวกรรมอุตสาหการเกิดขึ้นจากแนวคิดที่จะผลิตบุคลากรที่มีความรู้ ความเชี่ยวชาญทางด้านวิศวกรรมศาสตร์เพื่อนําไปประยุกต์ใช้ในอุตสาหกรรมการผลิตและบริการ ซึ่งมีความสําคัญอย่างยิ่งต่อการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของประเทศ หลักสูตรจึงได้พัฒนาขึ้นเพื่อตอบสนองต่อความต้องการบุคลากรที่มีความรู้ความสามารถทางวิศวกรรมอุตสาหการ โดยเน้นการบูรณาการศาสตร์ทางด้านวิศวกรรมศาสตร์ การจัดการอุตสาหกรรม และเทคโนโลยีสารสนเทศ เพื่อสร้างบัณฑิตที่มีความพร้อมในการทํางานในภาคอุตสาหกรรม

ดังนั้น หลักสูตรวิศวกรรมอุตสาหการจึงมีความสําคัญอย่างยิ่งต่อการผลิตบุคลากรที่มีทักษะและความรู้ความสามารถเพื่อรองรับการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจและอุตสาหกรรมของประเทศ

ข้อมูลทั่วไป

General Info

ชื่อปริญญา

ชื่อเต็ม
วิศวกรรมศาสตรบัณฑิต (วิศวกรรมอุตสาหการและการจัดการข้อมูล)
Bachelor of Engineering (Industrial Engineering and Data Management)

ชื่อย่อ
วศ.บ. (วิศวกรรมอุตสาหการและการจัดการข้อมูล)
B.Eng. (Industrial Engineering and Data Management)

รูปแบบของหลักสูตร

ภาษาไทย ภาคนอกเวลา
ระยะเวลา: 4 ปี
จำนวนรับเข้า (ประมาณ): 20 คน

ปีที่ออกหลักสูตร

หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2567
สำหรับนักศึกษารหัส B67 เป็นต้นไป

คุณสมบัติผู้สมัครเข้าศึกษา

ผู้สมัครต้องเป็นผู้สำเร็จการศึกษาประกาศนียบัตรวิชาชีพขั้นสูง (ปวส.) หรือปริญญาตรี
(เป็นไปตามการรับสมัครเพื่อคัดเลือกบุคคลเข้าศึกษาในมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี ระดับปริญญาตรีสำหรับผู้สำเร็จการศึกษาประกาศนีบัตรวิชาชีพขั้นสูง (ปวส.) และระดับปริญญาตรี สำนักวิศวกรรมศาสตร์ ประจำปีการศึกษา 2567 รอบ 3 Admission สาขาวิชาวิศวกรรมอุตสาหการและการจัดการข้อมูล (หลักสูตรนอกเวลา))

ค่าเล่าเรียน

ภาคการศึกษาละ 30,000 บาท
ผู้จบการศึกษาวุฒิปวช. ม.6 ตลอดหลักสูตร ประมาณ 360,000 บาท (4 ปี)

  • แบบเอก (วิศวกรรมอุตสาหการและการจัดการข้อมูล) (รวมไม่น้อยกว่า 182 หน่วยกิต)
  • แบบเอก-โท (วิศวกรรมอุตสาหการและการจัดการข้อมูล-โทความเป็นผู้ประกอบการ) (รวมไม่น้อยกว่า 194 หน่วยกิต)

ผู้จบการศึกษาวุฒิปวส. ป.ตรี ตลอดหลักสูตร ประมาณ 270,000 บาท (3 ปี)

  • แบบเอก (วิศวกรรมอุตสาหการและการจัดการข้อมูล) (รวมไม่น้อยกว่า 150 หน่วยกิต)
  • แบบเอก-โท (วิศวกรรมอุตสาหการและการจัดการข้อมูล-โทความเป็นผู้ประกอบการ) (รวมไม่น้อยกว่า 162 หน่วยกิต)

สถิติหลักสูตร

อัตราการได้งานทำภายใน 1 ปี XX%

มาตรฐานหลักสูตร

เป็นไปตามมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษา กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.)
ได้รับการรับรองหลักสูตรวิศวกรรมควบคุมจาก สภาวิศวกร ผู้สำเร็จการศึกษาสามารถสอบใบประกอบวิชาชีพ (กว.) วิศวกรรมอุตสาหการได้
สอดคล้องกับหลักเกณฑ์การขอรับรองมาตรฐานคุณภาพการศึกษาวิศวกรรมศาสตร์ ตามการรับรองมาตรฐานคุณภาพการศึกษาวิศวกรรมศาสตร์ (Thailand Accreditation Board of Engineering Education, TABEE) สภาวิศวกร
สอดคล้องกับหลักเกณฑ์การขอรับรอง Accreditation Board for Engineering and Technology (ABET) มาตรฐานคุณภาพการศึกษาจากคณะกรรมการ Engineering Accreditation Commission (EAC)

การย้ายสาขาวิชา

เป็นไปตามประกาศสำนักวิศวกรรมศาสตร์ เรื่อง การย้ายสาขาวิชา

หลักสูตรก่อนหน้า

Contact Info

สาขาวิชาวิศวกรรมอุตสาหการ

อาคารวิชาการ 1 ชั้น 2
มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี
111 ถนนมหาวิทยาลัย ตำบลสุรนารี
อำเภอเมือง จังหวัดนครราชสีมา 30000

+66 4422 4264
industrial.sut@gmail.com

วันจันทร์ – ศุกร์ เวลา 8:30 – 16:30 น.

Website

Social Info

Course Lists

PEOs
PLOs
Structure
Careers
Further Studies
วัตถุประสงค์ทางการศึกษาของหลักสูตร

Program Educational Objectives

หลักสูตรวิศวกรรมศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาวิศวกรรมอุตสาหการและการจัดการข้อมูล มีวัตถุประสงค์เพื่อ:

PEO 1
เพื่อผลิตบัณฑิตเพื่อประกอบวิชาชีพวิศวกรรมในสาขาวิชาวิศวกรรมอุตสาหการ
PEO 2
เพื่อจัดการศึกษาให้บัณฑิตเป็นวิศวกรที่มีความเชี่ยวชาญ มีประสบการณ์การออกแบบที่ครอบคลุมในทางวิชาชีพ เพื่อพัฒนาหาผลลัพธ์ของปัญหาร่วมสมัยได้ทางวิศวกรรมอุตสาหการและการจัดการข้อมูล
PEO 3
เพื่อจัดการศึกษาให้บัณฑิตเป็นวิศวกรที่มีความก้าวหน้าเติบโตอย่างมืออาชีพ บนเส้นทางอาชีพทางวิศวกรรมอุตสาหการ สามารถใช้ประโยชน์เทคโนโลยีและทรัพยากรที่เหมาะสม ใช้เครื่องมือทางวิศวกรรม และเทคโนโลยีสารสนเทศที่ทันสมัย
PEO 4
เพื่อจัดการศึกษาให้บัณฑิตเป็นวิศวกรที่ทำงานตอบสนองความต้องการของวงการวิชาชีพ สังคมและความยั่งยืน มีความรับผิดชอบต่อการตัดสินใจและการปกป้องสังคม
ผลลัพธ์การเรียนรู้ของหลักสูตร

Program Learning Outcomes

เมื่อสำเร็จการศึกษาแล้ว ผู้เรียนสามารถ:

PLO 1
ความรู้ทางด้านวิศวกรรม และพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์
สามารถประยุกต์ความรู้ทางด้านคณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ พื้นฐานทางด้านวิศวกรรม และความรู้เฉพาะทางวิศวกรรมอุตสาหการ เพื่อกำหนดกรอบความคิดของแบบจำลองทางวิศวกรรมหรือนิยาม และประยุกต์วิธีการกระบวนงาน กระบวนการหรือระบบงานทางวิศวกรรมในการทำงานได้
PLO 2
การวิเคราะห์ปัญหาทางวิศวกรรม
สามารถระบุปัญหา ตั้งสมการความสัมพันธ์ สืบค้นทางเอกสาร และแก้ไขปัญหาทางวิศวกรรมอุตสาหการที่ซับซ้อน จนได้ข้อสรุปเบื้องต้นโดยใช้หลักการ และเครื่องมือวิเคราะห์ทางด้านคณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ และทางด้านวิศวกรรมศาสตร์ได้อย่างถูกต้อง
PLO 3
การออกแบบและพัฒนาเพื่อหาคำตอบของปัญหา
สามารถหาคำตอบของปัญหาทางวิศวกรรมอุตสาหการที่ซับซ้อน และออกแบบระบบงานหรือกระบวนการทางวิศวกรรมตามความต้องการและข้อกำหนดงานโดยคำนึงถึงข้อกำหนดด้านสังคมความปลอดภัย การอนามัยและสิ่งแวดล้อมหรือมาตรฐานการปฏิบัติวิชาชีพ
PLO 4
การพิจารณาตรวจสอบ
สามารถตรวจสอบ วินิจฉัย ประเมินผลงานและปัญหาทางวิศวกรรมอุตสาหการที่ซับซ้อนซึ่งครอบคลุมถึงการตั้งสมมติฐาน การออกแบบการทดลอง การวิเคราะห์ การแปลความหมายข้อมูล และสังเคราะห์ข้อมูลข่าวสารเพื่อให้ได้ผลสรุปที่ถูกต้องตามหลักเหตุผล
PLO 5
การใช้อุปกรณ์เครื่องมือทันสมัย
สามารถสร้าง เลือก และประยุกต์ใช้เทคนิควิธี ทรัพยากร อุปกรณ์เครื่องมือทางวิศวกรรม และเทคโนโลยีสารสนเทศที่เหมาะสมและทันสมัย โดยคำนึงถึงข้อกำหนดและข้อจำกัดของเครื่องมือและอุปกรณ์นั้น
PLO 6
การทำงานร่วมกันเป็นทีม
สามารถทำงานร่วมกับผู้อื่นที่มีความหลากหลายในสหสาขาวิชาได้อย่างมีประสิทธิภาพ สามารถทำงานในฐานะสมาชิกของกลุ่มและผู้นำกลุ่มได้
PLO 7
การติดต่อสื่อสาร
สามารถติดต่อสื่อสารในงานวิศวกรรม วิชาชีพอื่น และบุคคลทั่วไปได้อย่างมีประสิทธิผลด้วยวาจาด้วยการเขียนรายงาน การเสนอผลงาน การเขียนและอ่านแบบทางวิศวกรรมตลอดจนสามารถออกคำสั่งและรับคำสั่งงานได้อย่างชัดเจน
PLO 8
กิจกรรมสังคม สิ่งแวดล้อม การพัฒนาที่ยั่งยืน และวิชาชีพวิศวกรรม
มีความเข้าใจและความรับผิดชอบต่อการปฏิบัติวิชาชีพวิศวกรรมอุตสาหการต่อบริบทของสังคมและสิ่งแวดล้อม และสามารถประเมินผลกระทบของการแก้ไขปัญหาทางวิศวกรรมที่ซับซ้อนต่อสังคม สิ่งแวดล้อมและการพัฒนาที่ยั่งยืน
PLO 9
จรรยาบรรณวิชาชีพ
มีความเข้าใจและยึดมั่นในจรรยาบรรณแห่งวิชาชีพ และยึดถือตามกรอบมาตรฐานการปฏิบัติวิชาชีพ
PLO 10
การบริหารงานวิศวกรรม
มีความรู้และความเข้าใจในด้านเศรษฐศาสตร์ และการบริหารงานวิศวกรรมโดยคำนึงถึงความเสี่ยงและการเปลี่ยนแปลง
PLO 11
การเรียนรู้ตลอดชีพ
ตระหนักถึงความจำเป็น และมีความสามารถในการเรียนรู้และพัฒนาตนเองตลอดชีพ
จำนวนหน่วยกิต

Credits

จำนวนหน่วยกิตรวม (ไม่น้อยกว่า) 182 หน่วยกิต

โครงสร้างหลักสูตร

Program Structure

กลุ่มอาชีพเป้าหมายเมื่อจบการศึกษา

Career Opportunities

  • งานให้คำปรึกษา หมายถึง การให้คำแนะนำ การตรวจวินิจฉัย หรือการตรวจรับรองงาน
  • งานวางโครงการ หมายถึง การศึกษา การวิเคราะห์หาทางเลือกที่เหมาะสม หรือการวางแผนของโครงการ
  • งานออกแบบและคำนวณ หมายถึง การใช้หลักวิชาและความชำนาญเพื่อให้ได้มาซึ่งรายละเอียดในการก่อสร้าง การสร้าง การผลิต หรือการวางผังโรงงานและเครื่องจักร โดยมีรายการคำนวณ แสดงเป็นรูปแบบข้อกำหนด หรือประมาณการ
  • งานควบคุมการสร้างหรือการผลิต หมายถึง การอำนวยการควบคุม หรือการควบคุมเกี่ยวกับการก่อสร้าง การสร้าง การผลิต การติดตั้ง การซ่อม การดัดแปลง การรื้อถอนงาน หรือการเคลื่อนย้ายงานให้เป็นไปโดยถูกต้องตามรูป แบบ และข้อกำหนดของหลักวิชาชีพวิศวกรรม
  • งานพิจารณาตรวจสอบ หมายถึง การค้นคว้า การวิเคราะห์ การทดสอบ การหาข้อมูล และสถิติต่าง ๆ เพื่อใช้เป็นหลักเกณฑ์ หรือประกอบการตรวจสอบวินิจฉัยงาน หรือในการสอบทาน
  • งานอำนวยการใช้ หมายถึง การอำนวยการดูแลการใช้ การบำรุงรักษางาน ทั้งที่เป็นชิ้นงานหรือระบบให้เป็นไปโดยถูกต้องตามรูป แบบ และข้อกำหนดของหลักวิชาชีพวิศวกรรม งานวิศวกรรมควบคุมตามประกาศ
    กฎกระทรวงข้างต้นนี้จะนำไปใช้ประเมินผลงานวิศวกรรมตามความสามารถการประกอบวิชาชีพวิศวกรรมควบคุมสำหรับผู้ขอรับใบอนุญาตฯ ระดับสามัญวิศวกร และวุฒิวิศวกรต่อไป

อาชีพอื่น ๆ เช่น ธุรกิจส่วนตัว นักวิเคราะห์และวางแผนในสถาบันการเงินและสถานประกอบการประเภท
ให้บริการ

การศึกษาต่อในระดับที่สูงขึ้น

Further Studies

สามารถศึกษาต่อในหลักสูตรวิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาวิศวกรรมระบบหรือวิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิศวกรรมการจัดการอุตสาหกรรมและโลจิสติกส์ ที่สำนักวิชาวิศวกรรมศาสตร์ มทส. หรือสถาบันการศึกษาชั้นนำอื่น ๆ ทั้งในและต่างประเทศ
Students can continue their studies in the M.Eng. in Systems Engineering or the M.Eng. in Industrial Management Engineering and Logistics at the Institute of Engineering, SUT or other leading educational institutes, both domestic and international.

ชอบแก้ปัญหา วิเคราะห์ ปรับปรุงการทํางาน?
วิศวกรรมอุตสาหการและการจัดการข้อมูล คือ ตัวเลือกที่เหมาะกับคุณ เรียนรู้ ลงมือปฏิบัติ สร้างอนาคตไปกับเรา สมัครเรียน วิศวกรรมอุตสาหการและการจัดการข้อมูล วันนี้!

รายวิชาของหลักสูตร

Course Lists

General Education
Courses

หมวดวิชาศึกษาทั่วไป

Major
Courses

หมวดวิชาเฉพาะ

Cooperative Education Courses

หมวดวิชาสหกิจศึกษา

Free Elective
Courses

หมวดวิชาเลือกเสรี
หมวดวิชาศึกษาทั่วไป

General Education Courses

กลุ่มวิชาแกนศึกษาทั่วไป

General Education Core Courses

กลุ่มวิชาภาษา

Language Courses

กลุ่มวิชาศึกษาทั่วไปแบบเลือก

Elective General Education Courses

หมวดวิชาเฉพาะ

Major Courses

กลุ่มวิชาพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์

Science and Mathematics Foundation Courses

กลุ่มวิชาพื้นฐานทางวิศวกรรมศาสตร์

Basic Engineering Courses

กลุ่มวิชาชีพบังคับทางวิศวกรรมศาสตร์

Major Profession Engineering Courses

กลุ่มวิชาเลือกทางวิศวกรรมศาสตร์

Engineering Elective Courses

กลุ่มวิชาด้านเทคโนโลยีดิจิทัล

Digital Technology Courses

กลุ่มวิชาด้านระบบการผลิตอัตโนมัติ

Automation Courses

กลุ่มวิชาด้านข้อมูล

Data Courses

กลุ่มวิชาด้านบริการจัดการและพัฒนา

Management and Improvement Courses

หมวดวิชาสหกิจศึกษา

Cooperative Education Courses

หมวดวิชาเลือกเสรี

Free Elective Courses

ให้เลือกเรียนรายวิชาใด ๆ ที่เปิดสอนในมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี
Choose to study any course offered at the Suranaree University of Technology.