PhD in Electrical Engineering

หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาวิศวกรรมไฟฟ้า

Electrical Engineering

หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิตสาขาวิชาไฟฟ้า (Electrical Engineering)
หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาวิศวกรรมไฟฟ้า สำนักวิชาวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี ปรับปรุงจากหลักสูตรวิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิตสาขาวิศวกรรมไฟฟ้า(หลักสูตรปรับปรุง 2558) โดยปัจจุบันใช้ชื่อหลักสูตรว่าวิศวกรรมไฟฟ้า(หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2563)


หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาวิศวกรรมไฟฟ้า
การจัดตั้ง “ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน” (ASEAN Economic Community: AEC) ในปี พ.ศ.
2558 (ค.ศ. 2015) จะทำให้เกิดการเคลื่อนย้ายสินค้า การบริการ การลงทุน เงินทุน และแรงงานอย่างเสรี ทำ
ให้ประเทศไทยต้องเตรียมความพร้อมที่จะรับมือกับผลกระทบต่อเศรษฐกิจ การลงทุน และการแข่งขันในการ
จ้างงานที่จะเกิดขึ้น ความก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีของประเทศไทย จะมีส่วนในการทำให้นัก
ลงทุนมองประเทศไทยในฐานะประเทศที่เหมาะสมในการเป็นฐานการผลิต ซึ่งมีผลดีต่อการเพิ่มผลิตภัณฑ์มวล
รวมในประเทศ (Gross Domestic Product: GDP) การเคลื่อนย้ายแรงงานที่จะเกิดขึ้นอย่างเสรี จึงเป็น
ตัวกำหนดความจำเป็นอย่างเร่งด่วนที่ประเทศไทยต้องยกระดับบุคลากรที่มีความรู้ความสามารถในระดับที่
สูงขึ้นเพื่อเตรียมความพร้อมสำหรับการแข่งขันดังกล่าว ซึ่งบุคลากรคุณภาพสูงมีส่วนในการเพิ่มความพร้อมของ
ประเทศในการเป็นฐานการผลิต
การพัฒนาอุตสาหกรรมของชาตินับว่าเป็นสิ่งสำคัญ ที่ต้องปฏิบัติควบคู่ไปกับการทำโครงสร้าง
ทางเกษตรกรรมของชาติให้เข้มแข็ง เพื่อในอนาคตประเทศไทยจะพัฒนาขึ้นเป็นประเทศทางเกษตร
อุตสาหกรรมอย่างเต็มตัว คงไม่ใช่เรื่องแปลกอะไรเมื่อคนส่วนใหญ่โดยทั่วไปจะนึกถึงพลังงาน เช่น พลังงาน
ไฟฟ้า เป็นต้น เมื่อเอ่ยถึงอุตสาหกรรม เพราะหากไม่มีพลังงานไม่ว่าในรูปแบบใดที่เหมาะสมแล้ว มนุษย์ก็มิอาจมคอ.2
6
ดำเนินกิจการอุตสาหกรรมได้ แต่เมื่อก้าวย่างเข้าไปในบริเวณโรงงานอุตสาหกรรม ก็จะพบว่า มีการใช้กลไก
ต่าง ๆ เครื่องมือทางอุตสาหกรรม บางโรงงานก็อาจพึ่งพาแรงงานคน แต่อีกจำนวนไม่น้อยที่พึ่งพาหุ่นยนต์และ
กลไกอัตโนมัติต่าง ๆ นักอุตสาหกรรมไม่น้อยเมื่อใช้งานกลไกและระบบอัตโนมัติ จะนึกถึงว่าเป็นหน้าที่ของ
วิศวกรไฟฟ้า หรือวิศวกรสาขาอื่น ๆ ที่ใกล้เคียง
สาขาวิชาวิศวกรรมไฟฟ้า ตระหนักถึงความสำคัญของวิทยาการด้านระบบควบคุมและระบบ
อัตโนมัติว่ามีส่วนเกี่ยวข้องอย่างมากต่อพัฒนาการทางอุตสาหกรรมของชาติ นอกจากนั้นแล้วธรรมชาติของ
วิทยาการแขนงนี้ยังเป็นพหุวิทยาการด้วย สาขาวิชาวิศวกรรมไฟฟ้าเล็งเห็นว่าการสร้างกำลังคนของชาติ ที่มี
ความรู้ความสามารถในวิทยาการระบบควบคุมนั้นมีความจำเป็นและสำคัญ ที่จะรองรับการเจริญเติบโตและ
พัฒนาการของประเทศจากเกษตรกรรมไปเป็นเกษตรอุตสาหกรรม หลักสูตรบัณฑิตศึกษาสาขาวิศวกรรมไฟฟ้า
ที่เน้นทางระบบควบคุมจึงได้มีการพัฒนาขึ้นมีวัตถุประสงค์เพื่อการผลิตวิศวกร นักวิชาการ ที่มีความรู้ขั้นสูง
ด้านระบบและการควบคุมอย่างลึกซึ้ง มีความสามารถในการดำเนินงานวิจัยได้อย่างมีคุณภาพ เพื่อจะได้เป็น
กำลังหลักในการพัฒนาเทคโนโลยีให้สังคมต่อไป
หลักสูตรบัณฑิตศึกษาสาขาวิชาวิศวกรรมไฟฟ้านี้ จึงเน้นทางการวิจัยและวิทยานิพนธ์ในระดับ
ปริญญาเอก โดยนักศึกษาสามารถเลือกเรียนแบบงานวิจัย หรือแบบมีการเรียนรายวิชาบรรยายผนวกกับ
งานวิจัย ทั้งนี้ขึ้นกับพื้นฐานทางความรู้และทักษะของนักศึกษาแต่ละราย ผู้เลือกแบบวิจัยจะต้องมีความรู้
พื้นฐานด้านวิศวกรรมศาสตร์ในเกณฑ์ดีมาก ผู้ที่มีความรู้ความสามารถดีมากทางคณิตศาสตร์ ระบบควบคุม
การคำนวณด้วยคอมพิวเตอร์ และการออกแบบระบบอิเล็กทรอนิกส์ จะได้รับพิจารณาเป็นพิเศษ นักศึกษาอาจ
เลือกปฏิบัติงานวิจัยทางด้านระบบควบคุมและระบบอัตโนมัติ ด้านไฟฟ้ากำลัง ด้านพลังงาน ด้านอิเล็กทรอนิกส์
หรือทางด้านระบบอัจฉริยะ และปัญญาประดิษฐ์ ซึ่งก็ขึ้นอยู่กับความพร้อมของคณาจารย์ ผู้ที่จะเป็นอาจารย์ที่
ปรึกษางานวิทยานิพนธ์ด้วย

ข้อมูลทั่วไป

General Info

ชื่อปริญญา

ชื่อเต็ม
ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต (วิศวกรรมไฟฟ้า)
Doctor of Philosophy (Electrical Engineering)

ชื่อย่อ
ปร.ด. (วิศวกรรมไฟฟ้า)
Ph.D. (Electrical Engineering)

รูปแบบของหลักสูตร

ภาษาไทย และ/หรือภาษาอังกฤษ ภาคปกติ
ระยะเวลา: 3 ปี (สำหรับผู้สำเร็จการศึกษาปริญญาโท), 4 ปี (สำหรับผู้สำเร็จการศึกษาปริญญาตรี(เกียรตินิยม))
จำนวนรับเข้า (ประมาณ): 1 คน

ปีที่ออกหลักสูตร

หลักสูตรใหม่ พ.ศ. 2563
สำหรับนักศึกษารหัส D63 เป็นต้นไป

คุณสมบัติผู้สมัครเข้าศึกษา

ผู้สมัครต้องเป็นผู้สำเร็จการศึกษาชั้นปริญญาตรีหรือเทียบเท่าจากสถาบันอุดมศึกษา

  1. เป็นไปตามประกาศกระทรวงศึกษาธิการ เรื่อง เกณฑ์มาตรฐานหลักสูตรระดับบัณฑิตศึกษา พ.ศ. 2558 ข้อที่ 12 คุณสมบัติของผู้เข้าศึกษา ข้อ 12.4 ปริญญาเอก จะต้องเป็นผู้สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรีหรือเทียบเท่าที่มีผลการเรียนดีมาก หรือปริญญาโทหรือเทียบเท่าและมีผลการสอบภาษาอังกฤษได้ตามเกณฑ์ที่คณะกรรมการการอุดมศึกษากำหนด
  2. เป็นไปตามข้อบังคับมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารีว่าด้วยการศึกษาขั้นบัณฑิตศึกษา (ฉบับที่2) พ.ศ. 2562 ข้อที่ 8 คุณสมบัติของผู้มีสิทธิ์เข้าศึกษา ข้อ 8.4 ปริญญาเอก จะต้องเป็นผู้สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรีเกียรตินิยมหรือเทียบเท่าหรือปริญญาโทหรือเทียบเท่า และมีผลการสอบภาษาอังกฤษได้ตามเกณฑ์ที่มหาวิทยาลัยกำหนด (ภาคผนวก จ) และข้อบังคับมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารีว่าด้วยการศึกษาขั้นปริญญาตรี พ.ศ. 2561 ข้อ29 การให้ปริญญาเกียรตินิยม (ภาคผนวก จ)

(เป็นไปตามข้อบังคับข้อบังคับว่าด้วยการศึกษาขั้นบัณฑิตศึกษา พ.ศ. 2566 หมวด 1 ข้อ 6.3)

ค่าเล่าเรียน

สำหรับผู้สำเร็จการศึกษาปริญญาโท

  • แผน 1.1 (วิจัยเพื่อทำวิทยานิพนธ์โดยไม่ต้องศึกษารายวิชา)
    ภาคการศึกษาละ ประมาณ 22,666 บาท
    ปีการศึกษาละ ประมาณ 68,000 บาท
    ตลอดหลักสูตร ประมาณ 204,000 บาท
    (รวมไม่น้อยกว่า 60 หน่วยกิต (ภายในระยะเวลา 3 ปี))
  • แผน 2.1 (ศึกษารายวิชาและวิจัยเพื่อทำวิทยานิพนธ์)
    ภาคการศึกษาละ ประมาณ 22,933 บาท
    ปีการศึกษาละ ประมาณ 68,800 บาท
    ตลอดหลักสูตร ประมาณ 206,400 บาท
    (รวมไม่น้อยกว่า 61 หน่วยกิต (ภายในระยะเวลา 3 ปี))

สำหรับผู้สำเร็จการศึกษาปริญญาตรี(เกียรตินิยม)
แผน 2.2 (ศึกษารายวิชาและวิจัยเพื่อทำวิทยานิพนธ์)
ภาคการศึกษาละ ประมาณ 24,666 บาท
ปีการศึกษาละ ประมาณ 74,000 บาท
ตลอดหลักสูตร ประมาณ 296,000 บาท
(รวมไม่น้อยกว่า 90 หน่วยกิต (ภายในระยะเวลา 4 ปี))

สถิติหลักสูตร

อัตราการได้งานทำภายใน 1 ปี มากกว่า xx%
จำนวนผู้สำเร็จการศึกษาก่อนหรือตรงเวลา (9 ภาคเรียน) xx%, รวมผู้สำเร็จการศึกษา xx % (สำหรับผู้สำเร็จการศึกษาปริญญาโท)
จำนวนผู้สำเร็จการศึกษาก่อนหรือตรงเวลา (12 ภาคเรียน) xx%, รวมผู้สำเร็จการศึกษา xx % (สำหรับผู้สำเร็จการศึกษาปริญญาตรี(เกียรตินิยม))

มาตรฐานหลักสูตร

หลักสูตรจะได้รับการเผยแพร่เป็นหลักสูตรที่มีคุณภาพและมาตรฐานตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิ
ระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2552 ในปีการศึกษา 2565

การย้ายสาขาวิชา

เป็นไปตามประกาศสำนักวิศวกรรมศาสตร์ เรื่อง การย้ายสาขาวิชาระดับบัณฑิตศึกษา

หลักสูตรก่อนหน้า

Contact Info

สาขาวิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์

อาคารวิชาการ 1 ชั้น 4
มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี
111 ถนนมหาวิทยาลัย ตำบลสุรนารี
อำเภอเมือง จังหวัดนครราชสีมา 30000

+66 4422 4422
cpesut.th@g.sut.ac.th

วันจันทร์ – ศุกร์ เวลา 8:30 – 16:30 น.

Website

Social Info

Course Lists

PEOs
PLOs
Structure
Careers
Further Studies
วัตถุประสงค์ทางการศึกษาของหลักสูตร

Program Educational Objectives

หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชา วิศวกรรมไฟฟ้าและคอมพิวเตอร์มีวัตถุประสงค์เพื่อ:

PEO 1
เพื่อผลิตบัณฑิตที่มีทักษะการวิจัยระดับสูง ในลักษณะการวิจัยเชิงลึกเพื่อสร้างองค์ความรู้ใหม่ รวมทั้งมีความสามารถในการประยุกต์ศาสตร์วิศวกรรมไฟฟ้าเข้ากับศาสตร์ในสาขาอื่น
ได้เพื่อแก้ปัญหาเฉพาะทาง โดยบัณฑิตจะต้องตระหนักในคุณธรรมและจริยธรรมของนักวิจัย
Produce graduates with high research skills in the form of in-depth research to create new knowledge, including having the ability to apply electrical engineering disciplinary in other fields to solve specific problems Graduates must be aware of morality and ethics of a researcher
PEO 2
เพื่อฝึกหัดบัณฑิตให้เป็นผู้สามารถค้นคว้าและต่อยอดองค์ความรู้ได้ด้วยตนเอง มีทักษะการเรียนรู้ตลอดชีวิต สามารถรับผิดชอบในหน้าที่หัวหน้าทีมวิจัย
To train graduates to be able to research and expand their knowledge on their own and have lifelong learning skills. Able to take responsibility for the role of research team leader
ผลลัพธ์การเรียนรู้ของหลักสูตร

Program Learning Outcomes

เมื่อสำเร็จการศึกษาแล้ว ผู้เรียนสามารถ:

PLO 1
บัณฑิตมีองค์ความรู้ที่จำเป็นทางวิชาการในศาสตร์ทางด้านวิศวกรรมไฟฟ้า
Graduates have the necessary academic knowledge in the field of electrical engineering disciplinary.
PLO 2
บัณฑิตมีความสามารถในการใช้ทักษะที่จำเป็นในการวิเคราะห์และแก้ปัญหาทางวิศวกรรมไฟฟ้าได้
Graduates have the ability to use essential skills for analysis and cansolve electrical engineering problems.
PLO 3
บัณฑิตมีความสามารถในการแสวงหาความรู้เพิ่มเติม การเพิ่มทักษะและการยกระดับขีดความสามารถทางวิชาการด้านวิศวกรรมไฟฟ้าได้
Graduates have the ability to Seeking additional knowledge, increasing skills and level-Ups
academic abilities in electrical engineering.
PLO 4
บัณฑิตมีความสามารถในออกแบบงานและบูรณาการองค์ความรู้เพื่อสร้างนวัตกรรมใหม่ได้
Graduates have the ability to design work and integrate knowledge to create new innovations.
PLO 5
บัณฑิตมีความสามารถในการประพฤติตนให้มีคุณธรรม และจริยธรรม ต่อสังคม รวมถึงการทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรมและศาสนา
Graduates have the ability to behave yourself with morality and ethics towards society, including
preserve arts, cultures and religions.
PLO 6
บัณฑิตมีความสามารถในการประพฤติตนให้มีความรับผิดชอบ
และมีจรรยาบรรณต่อในทางวิชาชีพวิศวกรรมด้านวิศวกรรมไฟฟ้า
Graduates have the ability to behave yourself responsibly and have ethics in engineering profession of electrical engineering
PLO 7
บัณฑิตมีความสามารถในการสื่อสารทางภาษาเพื่อแสดงถึงความรู้และแสดงถึงพฤติกรรมการเข้าสังคมได้อย่างมีคุณภาพ
Graduates have the ability to communicate in language to express knowledge and demonstrate behavior to socialize efficiently.
PLO 8
บัณฑิตมีความสามารถในการสื่อสารทางภาษาเพื่อแสดงถึงความรู้และแสดงถึงพฤติกรรมการเข้าสังคมได้อย่างมีคุณภาพ
raduates have the ability to communicate in language to express knowledge and demonstrate behavior to socialize efficiently.
PLO 9
บัณฑิตมีความสามารถในการคำนวณและมีทักษะในด้านการโปรแกรมภาษาคอมพิวเตอร์เพื่อวัตถุประสงค์ทั้งทางด้านวิชาการและวิชาชีพได้เป็นอย่างน้อย 1 ภาษา
Graduates have the ability to calculate and have skills in computer language program for both academic and profession purposes at least one language.
จำนวนหน่วยกิต

Credits

แผน 1 การวิจัยเพื่อทำวิทยานิพนธ์โดยไม่ต้องศึกษารายวิชา
แผน 1.1 ผู้เข้าศึกษาที่จบการศึกษาขั้นปริญญาโท ไม่น้อยกว่า 60 หน่วยกิต

โครงสร้างหลักสูตร

Program Structure

จำนวนหน่วยกิต

Credits

แผน 2 การศึกษารายวิชาและการวิจัยเพื่อทำวิทยานิพนธ์
แผน 2.1 ผู้เข้าศึกษาที่จบการศึกษาขั้นปริญญาโท ไม่น้อยกว่า 61 หน่วยกิต

โครงสร้างหลักสูตร

Program Structure

จำนวนหน่วยกิต

Credits

แผน 2 การศึกษารายวิชาและการวิจัยเพื่อทำวิทยานิพนธ์
แผน 2.2 ผู้เข้าศึกษาที่จบการศึกษาขั้นปริญญาตรี (เกียรตินิยม) ไม่น้อยกว่า 90 หน่วยกิต

โครงสร้างหลักสูตร

Program Structure

กลุ่มอาชีพเป้าหมายเมื่อจบการศึกษา

Career Opportunities

  • วิศวกรด้านการวิเคราะห์ ประยุกต์ และออกแบบ ด้านวิศวกรรมไฟฟ้า ด้านวิศวกรรมอิเล็กทรอนิกส์ ด้านระบบควบคุมและอัตโนมัติ
    An engineer in analysis, application and design in electrical engineering. electronic engineering, control and automation systems.
  • วิศวกรด้านการวิเคราะห์ ประยุกต์ และออกแบบ ด้านโครงการก่อสร้างงานระบบไฟฟ้า ระบบสื่อสารและระบบอิเล็กทรอนิกส์
    An engineer in analysis, application and design in electrical systems, communication and electronic systems in construction projects.
  • วิศวกรออกแบบ วิจัย พัฒนา เครื่องจักรทางไฟฟ้า
    An electrical machinery design, research, and develop engineer.
  • วิศวกรด้านการวิเคราะห์ ประยุกต์ และออกแบบ ระบบไฟฟ้าในโรงงานอุตสากรรมและกระบวนการผลิต
    An engineer in analysis, application, and design of electrical systems in industrial plants and
    Production process
  • วิศวกรโรงไฟฟ้าและสถานี
    A Power plant and station engineer.
  • นักวิจัยขั้นสูงด้านวิศวกรรมไฟฟ้า
    An advance researcher in electrical engineering.
  • วิศวกรด้านการวิเคราะห์และจัดการพลังงาน
    An energy analysis and management engineer.
  • อาจารย์
    A lecturer.
  • นักวิชาการด้านวิศวกรรมไฟฟ้า
    An electrical engineering academician.
การวิจัยหลังจบปริญญาเอก

Further Studies

สามารถศึกษาต่อใน ….
Students can continue their studies in ….

หากคุณกำลังมองหาสิ่งที่ท้าทาย สนุกสนาน และสมดุลในความรู้ อย่ารอช้า… มาเริ่มต้นเรียนรู้และสร้างสรรค์กับหลักสูตรวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ของเราได้เลย!

รายวิชาของหลักสูตร (แผน 1.1 การวิจัยเพื่อทำวิทยานิพนธ์โดยไม่ต้องศึกษารายวิชา(สำหรับผู้สำเร็จการศึกษาปริญญาโท))

Course Lists (Plan 1.1 Research for a thesis without studying courses (for master's degree graduates))

Doctoral Thesis

หมวดวิทยานิพนธ์
หมวดวิทยานิพนธ์ดุษฎีบัณฑิต

Doctoral Thesis

รายวิชาของหลักสูตร (แผน 2.1 การศึกษารายวิชาและการวิจัยเพื่อทำวิทยานิพนธ์ (สำหรับผู้สำเร็จการศึกษาปริญญาโท))

Course Lists (Plan 2.1 Course study and research for thesis (for Master's degree Graduates))

Elective Courses

หมวดวิชาเลือก

Doctoral Thesis

หมวดวิทยานิพนธ์ดุษฎีบัณฑิต
หมวดวิชาเลือก

Elective Courses

หมวดวิทยานิพนธ์ดุษฎีบัณฑิต

Doctoral Thesis

รายวิชาของหลักสูตร (แผน 2.2 การศึกษารายวิชาและการวิจัยเพื่อทำวิทยานิพนธ์ (สำหรับผู้สำเร็จการศึกษาปริญญาตรี(เกียรตินิยม)))

Course Lists (Plan 2.2 Course study and research for thesis (For graduates with a Bachelor's degree (Honours)))

Compulsory Courses

หมวดวิชาบังคับ

Elective Courses

หมวดวิชาเลือก

Doctoral Thesis

หมวดวิทยานิพนธ์
หมวดวิชาบังคับ

Compulsorry Courses

หมวดวิชาเลือก

Elective Courses

หมวดวิทยานิพนธ์ดุษฎีบัณฑิต

Doctoral Thesis