PhD in Chemical Engineering

หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาวิศวกรรมเคมี

Chemical Engineering

หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิตสาขาวิชาเคมี (Chemical Engineering)
หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาวิศวกรรมเคมี สำนักวิชาวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี เริ่มเปิดสอนตั้งแต่ปีการศึกษา 25xx เทอม x(วิศวกรรมศาสตรดุษฎีบัณฑิตสาขาวิศวกรรมเคมี-หลักสูตรใหม่ 25xx) โดยปัจจุบันใช้ชื่อหลักสูตรว่าวิศวกรรมเคมี(หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2568) หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาวิศวกรรมเคมี มีความสำคัญ เนื่องจากความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีและแรงผลักดันทางด้านเศรษฐกิจ จึงส่งผลทำให้มีผลิตภัณฑ์และวัตถุดิบใหม่ๆ เกิดขึ้นในตลาดโลกอย่างมากมาย วิศวกรเคมีจากเดิมที่เน้นหนักไปทางด้านอุตสาหกรรมเคมีปิโตรเลียมและปิโตรเคมี จึงต้องหันมาสนใจทางด้านอุตสาหกรรมอื่นๆ ด้วย ไม่ว่าจะเป็นอุตสาหกรรมเทคโนโลยีชีวภาพอุตสาหกรรมทางด้านชีวการแพทย์ วัสดุชีวภาพ อุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ การผลิตวัสดุนาโนหรืออุตสาหกรรมที่เกี่ยวกับวัตถุดิบพื้นฐาน เทคโนโลยีสารสนเทศ ซึ่งส่งผลให้มีการแข่งขันอย่างสูงในเรื่องโครงสร้างและการออกแบบในระดับโมเลกุล ซึ่งต้องการกระบวนการผลิตที่มีการควบคุมองค์ประกอบและโครงสร้างทางเคมีที่แน่นอนมากที่สุด เพื่อที่จะพัฒนาคุณภาพของผลิตภัณฑ์ให้ดีมากขึ้น โดยขณะเดียวกันจะต้องทำให้ค่าใช้จ่ายในการผลิตลดลงด้วย และกุญแจสำคัญที่จะมาแก้ไขปัญหานี้ คือการออกแบบ ควบคุม และดำเนินการผลิตอย่างมีประสิทธิภาพ โดยต้องคำนึงถึงผลกระทบในด้านสิ่งแวดล้อมและความเสี่ยงในด้านสุขภาพในระหว่างการผลิต การขนส่ง การใช้ รวมถึงการกำจัด วิศวกรเคมีจึงจำเป็นต้องเตรียมพร้อมให้ทันต่อการเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยีดังกล่าวในอนาคต โดยจะต้องมีการบริหารจัดการองค์ความรู้อย่างเป็นระบบ ทั้งการพัฒนาหรือสร้างองค์ความรู้ รวมถึงการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีที่เหมาะสมและใช้เทคโนโลยีที่ทันสมัย เช่น การวิเคราะห์ข้อมูล Big Data และปัญญาประดิษฐ์ ให้เกิดการบูรณาการศาสตร์แขนงต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกันเพื่อส่งผลต่อประโยชน์ในการพัฒนาประเทศตามแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 13 แผนตามยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี และแผนกลยุทธ์ของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารีฉบับที่ 13 โดยเน้นการพัฒนาอุตสาหกรรมซึ่งต้องการบุคลากรที่มีความรู้ในลักษณะบูรณาการระหว่างศาสตร์ ที่มีคุณภาพเป็นจำนวนมาก เพื่อร่วมพัฒนาเศรษฐกิจในประเทศให้มีความก้าวหน้าและแข่งขันในระดับนานาชาติได้

ข้อมูลทั่วไป

General Info

ชื่อปริญญา

ชื่อเต็ม
ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต (วิศวกรรมเคมี)
Doctor of Philosophy (Chemical Engineering)

ชื่อย่อ
ปร.ด. (วิศวกรรมเคมี)
Ph.D. (Chemical Engineering)

รูปแบบของหลักสูตร

ภาษาไทย และ/หรือภาษาอังกฤษ ภาคปกติ
ระยะเวลา: 3 ปี (สำหรับผู้สำเร็จการศึกษาปริญญาโท), 4 ปี (สำหรับผู้สำเร็จการศึกษาปริญญาตรี(เกียรตินิยม))
จำนวนรับเข้า (ประมาณ): 2 คน

ปีที่ออกหลักสูตร

หลักสูตรใหม่ พ.ศ. 2568
สำหรับนักศึกษารหัส D68 เป็นต้นไป

คุณสมบัติผู้สมัครเข้าศึกษา

ผู้สมัครต้องเป็นผู้สำเร็จการศึกษาชั้นปริญญาโทหรือเทียบเท่าจากสถาบันอุดมศึกษาหรือเป็นผู้สำเร็จการศึกษาชั้นปริญญาตรี(เกียรตินิยม)หรือเทียบเท่าจากสถาบันอุดมศึกษา
(เป็นไปตามข้อบังคับข้อบังคับว่าด้วยการศึกษาขั้นบัณฑิตศึกษา พ.ศ. 2566 หมวด 1 ข้อ 6.4)

ค่าเล่าเรียน

สำหรับผู้สำเร็จการศึกษาปริญญาโท

  • แผน 1.1 (วิจัยเพื่อทำวิทยานิพนธ์โดยไม่ต้องศึกษารายวิชา)
    ภาคการศึกษาละ ประมาณ 22,667 บาท
    ปีการศึกษาละ ประมาณ 68,000 บาท
    ตลอดหลักสูตร ประมาณ 204,000 บาท
    (รวมไม่น้อยกว่า 60 หน่วยกิต (ภายในระยะเวลา 3 ปี))
  • แผน 2.1 (ศึกษารายวิชาและวิจัยเพื่อทำวิทยานิพนธ์)
    ภาคการศึกษาละ ประมาณ 22,934 บาท
    ปีการศึกษาละ ประมาณ 68,800 บาท
    ตลอดหลักสูตร ประมาณ 206,400 บาท
    (รวมไม่น้อยกว่า 61 หน่วยกิต (ภายในระยะเวลา 3 ปี))

สำหรับผู้สำเร็จการศึกษาปริญญาตรี(เกียรตินิยม)
แผน 2.2 (ศึกษารายวิชาและวิจัยเพื่อทำวิทยานิพนธ์)
ภาคการศึกษาละ ประมาณ 25,467 บาท
ปีการศึกษาละ ประมาณ 76,400 บาท
ตลอดหลักสูตร ประมาณ 305,600 บาท
(รวมไม่น้อยกว่า 94 หน่วยกิต (ภายในระยะเวลา 4 ปี))

สถิติหลักสูตร

อัตราการได้งานทำภายใน 1 ปี มากกว่า xx%
จำนวนผู้สำเร็จการศึกษาก่อนหรือตรงเวลา (9 ภาคเรียน) xx%, รวมผู้สำเร็จการศึกษา xx % (สำหรับผู้สำเร็จการศึกษาปริญญาโท)
จำนวนผู้สำเร็จการศึกษาก่อนหรือตรงเวลา (12 ภาคเรียน) xx%, รวมผู้สำเร็จการศึกษา xx % (สำหรับผู้สำเร็จการศึกษาปริญญาตรี(เกียรตินิยม))

Contact Info

สาขาวิชาวิศวกรรมเคมี

อาคารวิชาการ 1 ชั้น 4
มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี
111 ถนนมหาวิทยาลัย ตำบลสุรนารี
อำเภอเมือง จังหวัดนครราชสีมา 30000

+66 4422 4491
terasut@sut.ac.th

วันจันทร์ – ศุกร์ เวลา 8:30 – 16:30 น.

Website

Social Info

Course Lists

PEOs
PLOs
Structure
Careers
Further Studies
วัตถุประสงค์ทางการศึกษาของหลักสูตร

Program Educational Objectives

หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาวิศวกรรมเคมีมีวัตถุประสงค์เพื่อ:

PEO 1
เพื่อสร้างบัณฑิตที่มีความรู้ ทักษะ และประสบการณ์ในการวิจัยในสาขาวิชาวิศวกรรมเคมีเพื่อปฏิบัติงานด้านวิศวกรรมเคมี และเป็นบัณฑิตที่มีคุณธรรมและเป็นผู้นำของสังคมได้
To produce graduates with knowledge, skills and experience in research in the field of chemical engineering to practice chemical engineering and become graduates with morality and leaders of society.
PEO 2
เพื่อเสริมสร้างความเข้มแข็งให้กับงานวิจัยด้านวิศวกรรมเคมีทั้งงานวิจัยที่สร้างองค์ความรู้ใหม่ และงานวิจัยและพัฒนาที่สามารถนำไปใช้ประโยชน์ในการพัฒนาชุมชนและประเทศชาติได้
To strengthen chemical engineering research, both research that creates new knowledge and research and development that can be applied to develop communities and the country.
PEO 3
เพื่อสนับสนุนการวิจัยในลักษณะบูรณาการ อันจะเป็นการสร้างความเข้มแข็งทางด้านการวิจัยให้กับสาขาวิชาฯ สำนักวิชาฯ ตลอดจนมหาวิทยาลัยฯ ซึ่งจะเป็นผลดีต่อการพัฒนาเทคโนโลยีตลอดจนการปรับปรุงคุณภาพการเรียนการสอนทั้งในระดับปริญญาตรีและระดับบัณฑิตศึกษา
To support integrated research, which will strengthen research for the Department, the Faculty, and the University, which will benefit the development of technology and the improvement of teaching quality at both the undergraduate and graduate levels.
ผลลัพธ์การเรียนรู้ของหลักสูตร

Program Learning Outcomes

เมื่อสำเร็จการศึกษาแล้ว ผู้เรียนสามารถ:

PLO 1
สามารถแสดงให้เห็นถึงความมีจรรยาบรรณทางวิชาการและการวิจัย มีความรับผิดชอบต่อตนเองวิชาชีพและสังคม
Able to demonstrate academic and research ethics, be responsible for oneself, one’s profession and society.
PLO 2
สามารถประยุกต์ความรู้พื้นฐานและความรู้ขั้นสูงใน
ศาสตร์ที่เกี่ยวข้องทั้งภาคทฤษฎี และภาคปฏิบัติได้อย่างเหมาะสม
Able to apply basic and advanced knowledge in related sciences both in theory and practice appropriately.
PLO 3
สามารถแสดงให้เห็นความใฝ่รู้และพัฒนาความรู้ใน
ลักษณะของการวิจัยเพื่อสร้างองค์ความรู้ใหม่ และสามารถเขียนรายงานและนำเสนอผลงานเชิงวิชาการหรือความรู้ในระดับชาติหรือนานาชาติ
Able to demonstrate a thirst for knowledge and develop knowledge in the form of research to create new knowledge and able to write reports and present academic or knowledge work at the national or international level.
PLO 4
สามารถแสวงหาความรู้ด้วยตนเอง และเลือกวิธีการ
แก้ปัญหาได้อย่างเป็นระบบและเหมาะสม
Able to seek knowledge by themselves and choose methods to solve problems systematically and appropriately.
PLO 5
มีความสามารถทำงานร่วมกับผู้อื่น มีทักษะการบริหารจัดการและทำงานเป็นทีม
Able to work with others, have management skills and teamwork.
PLO 6
ภาษาอังกฤษ และศัพท์เทคนิค รวมถึงมีความสามารถในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ
Ability to communicate in Thai, English and technical terms, including the ability to use information technology.
จำนวนหน่วยกิต

Credits

แผน 1: การวิจัยเพื่อทำวิทยานิพนธ์โดยไม่ต้องศึกษารายวิชา
แผน 1.1 ผู้เข้าศึกษาที่จบการศึกษาขั้นปริญญาโท ไม่น้อยกว่า 60 หน่วยกิต

Schedule 1: Research for a thesis without courses study
Plan 1.1 Students who have completed a master’s degree Not less than 60 credits

โครงสร้างหลักสูตร

Program Structure

จำนวนหน่วยกิต

Credits

แผน 2: การศึกษารายวิชาและการวิจัยเพื่อทำวิทยานิพนธ์
แผน 2.1 ผู้เข้าศึกษาที่จบการศึกษาขั้นปริญญาโท ไม่น้อยกว่า 61 หน่วยกิต

Schedule 2: Courses study and research for a thesis
Plan 2.1 Students who have completed a master’s degree Not less than 61 credits

โครงสร้างหลักสูตร

Program Structure

จำนวนหน่วยกิต

Credits

แผน 2.2 ผู้เข้าศึกษาที่จบการศึกษาขั้นปริญญาตรี (เกียรตินิยม) ไม่น้อยกว่า 94 หน่วยกิต

Plan 2.2 Students who have completed a bachelor’s degree (honour) Not less than 94 credits

โครงสร้างหลักสูตร

Program Structure

กลุ่มอาชีพเป้าหมายเมื่อจบการศึกษา

Career Opportunities

  • วิศวกรเคมี
    Chemical Engineer.
  • วิศวกรควบคุมกระบวนการผลิต
    Process Engineer.
  • วิศวกรออกแบบกระบวนการผลิต
    Process Design Engineer.
  • วิศวกรออกแบบผลิตภัณฑ์
    Product Design Engineer.
  • นักบริหารโครงการ/การตลาด
    Project/Marketing Manager.
  • นักวิชาการหรือนักวิจัย
    Academic Scholar or Researcher.
  • อาจารย์
    Lecturer.
  • นักวิเคราะห์ข้อมูล
    Data Analyst.
  • ที่ปรึกษาทางเทคนิค
    Technical Consultant.
การวิจัยหลังจบปริญญาเอก

Further Studies

สามารถศึกษาต่อใน ….
Students can continue their studies in ….

หากคุณกำลังมองหาสิ่งที่ท้าทาย สนุกสนาน และสมดุลในความรู้ อย่ารอช้า… มาเริ่มต้นเรียนรู้และสร้างสรรค์กับหลักสูตรวิศวกรรมเคมีของเราได้เลย!

รายวิชาของหลักสูตร (แผน 1.1 การวิจัยเพื่อทำวิทยานิพนธ์โดยไม่ต้องศึกษารายวิชา(สำหรับผู้สำเร็จการศึกษาปริญญาโท))

Course Lists (Plan 1.1 Research for a thesis without studying courses (for master's degree graduates))

Doctoral Thesis

หมวดวิทยานิพนธ์
หมวดวิทยานิพนธ์ดุษฎีบัณฑิต

Doctoral Thesis

รายวิชาของหลักสูตร (แผน 2.1 การศึกษารายวิชาและการวิจัยเพื่อทำวิทยานิพนธ์ (สำหรับผู้สำเร็จการศึกษาปริญญาโท))

Course Lists (Plan 2.1 Course study and research for thesis (for Master's degree Graduates))

Compulsory Courses

หมวดวิชาบังคับ

Elective Courses

หมวดวิชาเลือก

Doctoral Thesis

หมวดวิทยานิพนธ์ดุษฎีบัณฑิต
หมวดวิชาบังคับ

Compulsory Courses

หมวดวิชาเลือก

Elective Courses

ด้านปรากฏการณ์ถ่ายโอนและกระบวนการแยกสาร

Transfer Phenomena and Separation Processes

ด้านอุณหพลศาสตร์และวิศวกรรมปฏิกิริยาเคมี

Thermodynamics and Chemical Reaction Engineering

ด้านคณิตศาสตร์ประยุกต์และการจำลองกระบวนการและการควบคุม

Mathematical Application and Process and Control Simulations

ด้านเทคโนโลยีพลังงานและวิศวกรรมสิ่งแวดล้อม

Energy Technology and Environmental Engineering

ด้านวิศวกรรมกระบวนการชีวภาพ อาหารและยา

Bioprocesses, Food and Drug Engineering

ด้านเทคโนโลยีวัสดุและเทคโนโลยีอนุภาค

Materials Technology and Particle Technology

ด้านเทคโนโลยีวัสดุและเทคโนโลยีอนุภาค

Materials Technology and Particle Technology

ด้านเทคโนโลยีปิโตรเคมี

Petrochemical Technology

อื่นๆ

Others

หมวดวิทยานิพนธ์ดุษฎีบัณฑิต

Doctoral Thesis

รายวิชาของหลักสูตร (แผน 2.2 การศึกษารายวิชาและการวิจัยเพื่อทำวิทยานิพนธ์ (สำหรับผู้สำเร็จการศึกษาปริญญาตรี(เกียรตินิยม)))

Course Lists (Plan 2.2 Course study and research for thesis (For graduates with a Bachelor's degree (Honours)))

Compulsory Courses

หมวดวิชาบังคับ

Elective Courses

หมวดวิชาเลือก

Doctoral Thesis

หมวดวิทยานิพนธ์
หมวดวิชาบังคับ

Compulsorry Courses

หมวดวิชาเลือก

Elective Courses

ด้านปรากฏการณ์ถ่ายโอนและกระบวนการแยกสาร

Transfer Phenomena and Separation Processes

ด้านอุณหพลศาสตร์และวิศวกรรมปฏิกิริยาเคมี

Thermodynamics and Chemical Reaction Engineering

ด้านคณิตศาสตร์ประยุกต์และการจำลองกระบวนการและการควบคุม

Mathematical Application and Process and Control Simulations

ด้านเทคโนโลยีพลังงานและวิศวกรรมสิ่งแวดล้อม

Energy Technology and Environmental Engineering

ด้านวิศวกรรมกระบวนการชีวภาพ อาหารและยา

Bioprocesses, Food and Drug Engineering

ด้านเทคโนโลยีวัสดุและเทคโนโลยีอนุภาค

Materials Technology and Particle Technology

ด้านเทคโนโลยีปิโตรเคมี

Petrochemical Technology

อื่นๆ

Others

หมวดวิทยานิพนธ์ดุษฎีบัณฑิต

Doctoral Thesis