Polymer for Medical Applications

พอลิเมอร์สำหรับงานทางการแพทย์                                         

3(3-0-6)

เงื่อนไข:          โดยความเห็นชอบของสาขาวิชา

นิยามและชนิดของวัสดุพอลิเมอร์ที่ใช้ในทางการแพทย์ สมบัติทางกายภาพและทางเคมีของวัสดุปฏิกิริยาการตอบสนองและความเข้ากันได้ในทางชีวภาพของวัสดุกับระบบชีวภาพ (ร่างกายมนุษย์) วิธีการทดสอบความเข้ากันได้ การเสื่อมสภาพของวัสดุในสภาวะชีวภาพ การนำพอลิเมอร์ไปใช้ประโยชน์ในทางการแพทย์ เช่น ในระบบส่งถ่ายตัวยา ไหมเย็บแผล ระบบกระดูก ระบบสายตา ฯลฯ การค้นคว้า ทำรายงาน และนำเสนองานวิจัยในหัวข้อที่เกี่ยวข้อง รวมถึงการทัศนศึกษาในโรงงานผลิตผลิตภัณฑ์

ผลสัมฤทธิ์การเรียนรู้

                    เมื่อสิ้นสุดการเรียนรายวิชานี้ นักศึกษาจะมีความสามารถด้านต่าง ๆ ต่อไปนี้

  1. สามารถให้คำจำกัดความของวัสดุพอลิเมอร์ทางการแพทย์ได้
  2. สามารถระบุสมบัติที่กำหนดและจำเป็นต้องคำนึงถึงในการทำหน้าที่ในชีวภาพ
  3. สามารถบรรยายปฏิกิริยาการตอบสนองของระบบชีวภาพต่อวัสดุพอลิเมอร์ทางการแพทย์
  4. สามารถเลือกวัสดุพอลิเมอร์ทางการแพทย์ที่เหมาะสมต่อการประยุกต์ใช้งานด้านการแพทย์

Polymer for Medical Applications

Prerequisite:  Consent of the school

Basic definitions and classification of polymer for medical applications, Physico-chemical properties of biomaterial, Host reactions to biomaterials and their evaluation, Testing biomaterials, Degradation of materials in biological environment and applications of polymer in medicine. Report and presentation in related topic.

Learning outcomes

Upon completion of this course, the student will be able to:

  1. Able to describe basic definition of polymer for medical applications
  2. Able to identify the properties required to meet the needs of the intended biological function
  3. Able to describe host reactions to biomaterials
  4. Able to choose a suitable polymeric material for defined medical applications