เทคโนโลยีการหมัก
3(3-0-6)
วิชาบังคับก่อน: โดยความเห็นชอบของสาขาวิชา
ระบบการหมัก การเลี้ยงเชื้อแบบต่อเนื่องและไม่ต่อเนื่อง วัตถุดิบของการหมัก การหมักผลิตภัณฑ์ทางชีวภาพและอาหาร การออกแบบถังหมัก เครื่องมือวัดและควบคุม การเติมอากาศและกวนสาร การจำลองแบบของกระบวนการหมัก การนำสารกลับมาใช้ใหม่และการทำให้ผลิตภัณฑ์จากกระบวนการหมักบริสุทธิ์
ผลสัมฤทธิ์การเรียนรู้
- สามารถประยุกต์ใช้ความรู้พื้นฐานวิทยาศาสตร์ วิศวกรรมศาสตร์และทางวิศวกรรมเคมีในการออกแบบ ควบคุม และปรับปรุงอุปกรณ์ต่าง ๆ ที่ใช้ในกระบวนการหมัก (PLO 1, 2)
- สามารถแก้ปัญหาที่เกี่ยวข้องกับอุปกรณ์และกระบวนการหมักผลิตภัณฑ์ทางชีวภาพและอาหารผ่านทางการทำโครงงานที่มอบหมายเป็นกลุ่มได้อย่างเหมาะสม (PLO 3, 5)
- สามารถเรียนรู้เทคโนโลยีใหม่ ๆ ที่เกี่ยวกับกระบวนการหมักและปรับใช้ให้เข้ากับบริบทของสังคม สภาพแวดล้อม และอื่น ๆ ของไทยได้อย่างเหมาะสม (PLO 7)
- เข้าใจถึงความสำคัญและแนวทางในการอ้างอิงแหล่งข้อมูลต่าง ๆ มาใช้ประกอบการทำโครงงานของตนเอง (PLO 6)
Fermentation Technology
Prerequisite: Consent of the school
Fermentation systems. Batch and continuous culture. Raw materials for fermentation. Fermentation in biological and food industry. Design of a fermenter. Instrumentation and control. Aeration and agitation. Fermentation modeling. Recovery and purification of fermentation products.
Learning outcomes
- To apply basic science, engineering, and chemical engineering knowledge in design, control and improvement of unit operations used in fermentation processes. (PLO 1, 2)
- To appropriately solve problems related to equipment, and biological and food fermentation processes, especially on the group-assigned term project. (PLO 3, 5)
- To study new technology for fermentation processes and appropriately adapt to Thai biological and food industries. (PLO 7)
- To understand the importance and method of citation for references, especially on the references that students use in their term projects. (PLO 6)