แนวทางการประกอบอาชีพ

ลักษณะวิชาชีพ
        วิศวกรรมสิ่งแวดล้อมเป็นวิชาชีพทีเกี่ยวกับการนำความรู้ทางคณิตศาสตร์และวิทยาศาสตร์มาประยุกต์ใช้ในด้านสุขาภิบาลและการรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อม เพื่อสุขภาพอนามัยและคุณภาพชีวิตที่ดีของประชาชน วิศวกรรมสิ่งแวดล้อมทำงานเกี่ยวข้องกับการออกแบบและควบคุมระบบผลิตน้ำอุปโภคบริโภค ระบบสุขาภิบาลในอาคาร ระบบรวบรวมน้ำเสีย ระบบการป้องกันและระบบมลพิษทางน้ำ อากาศ เสียง และขยะมูลฝอย ระบบการจัดการสิ่งแวดล้อม และการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม มุ่งเน้นที่การศึกษาค้นคว้าวิจัยพัฒนาทางวิศวกรรมและเทคโนโลยีที่จะใช้ป้องกันและแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อมด้านต่างๆ ซึ่งสามารถนำไปใช้งานและปฏิบัติได้จริง
        บัณทิตที่จบการศึกษาจากหลักสูตรนี้สามารถขอใบประกอบวิชาชีพวิศวกรรมควบคุม (กว.) สาขาวิชาวิศวกรรมสิ่งแวดล้อม (ได้รับการรับรองหลักสูตรวิศวกรรมศาสตร์บัณฑิต สาขาวิศวกรรมสิ่งแวดล้อมจากสภาวิศวกร ตั้งแต่วันที่ 11 มกราคม 2553) และสามารถเข้าสอบเพื่อเป็นผู้ควบคุมระบบมลพิษน้ำ อากาศ และกากอุตสาหกรรมได้

แนวทางการประกอบวิชาชีพสำหรับผู้จบการศึกษา
1. การออกแบบระบบสุขาภิบาลในอาคารและระบบรวบรวมน้ำเสีย
2. การออกแบบและควบคุมระบบผลิตน้ำอุปโภคและบริโภค ระบบบำบัดน้ำเสีย
3. ระบบควบคุมมลพิษอากาศและเสียง และระบบการจัดการจัดการขยะมูลฝอย
4. การวางแผนการจัดการคุณภาพสิ่งแวดล้อม
5. การประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม
6. บริษัทวิศวกรที่ปรึกษาที่ให้บริการในงานวิศวกรรมสิ่งแวดล้อม
7. บริษัทเอกชนที่ทำงานด้านระบบบำบัดมลพิษ/กำจัดขยะ
8. โรงงานอุตสาหกรรม
9. งานราชการ ได้แก่ สถาบันการศึกษา/วิจัย สำนักงานนโยบายและแผนสิ่งแวดล้อม กรมณโรงงานอุตสาหกรรม และ กรมควบคุมมลพิษ เป็นต้น


ลัษณะเด่นของวิชาชีพ
1. มีงานวิศวกรรมสิ่งแวดล้อมหลายประเภทที่ผู้หญิงมีโอกาสได้งานสูงกว่าหรือเทียบเท่าผู้ชาย
2. เป็นวิศวกรรมสาขาเดียวที่มีการเรียนการสอนด้านชีววิทยา
3. ได้ทำงานใกล้ชิดกับธรรมชาติและชุมชน
4. ได้เรียนรู้กว้างขวางในหลายสาขา เช่น Biogas/Biomass Global Warming/Carbon Cycle Assessment (LCA) เป็นต้น
5. งานวิจัย Researchs
    งานวิจัยของสาขาวิชาฯ มีความหลากหลายตามความเชี่ยวชาญของคณาจารย์แต่ละท่าน โดยกลุ่มหัวข้องานวิจัยในปัจจุบันประกอบด้วย
    5.1 การบำบัดน้ำเสียด้วยระบบไร้อากาศ
    5.2 การบำบัดน้ำเสียด้ยระบบพื้นที่ระบบพื้นที่ชุ่มน้ำประดิษฐ์
    5.3 การพัฒนาแบบจำลองเชิงสถิติด้านคุณภาพอากาศ
    5.4 การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสะอาดในอุตสาหกรรม
    5.5 การประเมินวงจรชีวิต
    5.6 การพัฒนาวัสดุดูดซับเสียงจากวัสดุเหลือใช้
    5.7 การใช้วัสดุนาโนเพื่อสิ่งแวดล้อม
6. กลุ่มงานวิจัยทางด้านคุณภาพอากาศ
7. กลุ่มงานการใช้วัสดุนาโน เพื่อสิ่งแวดล้อม
8. กลุ่มงานวิจัยทางด้าน Biogas และการประเมินวงจรชีวิต
9. กลุ่มงานเทคโนโลยีการบำบัดน้ำเสียแบบไม่ใช้ออกซิเจน และระบบใช้ออกซิเจน
10. กลุ่มงานวิจัยพื้นที่ชุ่มน้ำประดิษฐ์