ประวัติความเป็นมา

1. สถานการณ์ภายนอกหรือการพัฒนาที่จำเป็นต้องนำมาพิจารณาในการวางแผนหลักสูตร

          1.1 สถานการณ์หรือการพัฒนาทางเศรษฐกิจ
ในปัจจุบันประเทศไทยมีการพัฒนาทางด้านเศรษฐกิจ อุตสาหกรรม วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีอย่างกว้างขวางและขยายตัวอย่างรวดเร็ว เพื่อประเทศไทยสามารถที่จะแข่งขันกับนานาประเทศและสามารถก้าวไปสู่ประเทศ
อุตสาหกรรมใหม่ได้ ผลจากการเพิ่มจำนวนของโรงงานอุตสาหกรรมอย่างรวดเร็ว ประกอบกับการเพิ่มจำนวนของประชากรของประเทศ การโยกย้ายถิ่นฐานเพื่อการประกอบอาชีพส่งผลให้เกิดปัญหาการเพิ่มขึ้นของประชากรในชุมชนอย่างรวดเร็วจนเกิดความแออัด และก่อให้เกิดปัญหามลพิษสิ่งแวดล้อมตามมา เช่น ซึ่งเป็นปัญหาที่เร่งด่วนและสำคัญที่ต้องมีการวางแผนจัดการและดำเนินการแก้ไขเพื่อไม่ให้ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและสภาพความเป็นอยู่ของประชาชนดังนั้นจึงมีความต้องการวิศวกรสิ่งแวดล้อมซึ่งเป็นผู้ที่มีความรู้ ความสามารถเข้าไปออกแบบและดูแลระบบกำจัดมลพิษเหล่านี้ ให้ทันกับปัญหาทางด้านสิ่งแวดล้อมที่เพิ่มขึ้น

         1.2 สถานการณ์หรือการพัฒนาทางสังคมและวัฒนธรรม
ปัญหาทางด้านสิ่งแวดล้อมโดยส่วนใหญ่มักเกิดจากการที่บุคคลหรือองค์กรต่างๆที่เป็นผู้ก่อให้เกิดมลพิษมิได้ตระหนักถึงหน้าที่ และความรับผิดชอบต่อสังคม ขาดคุณธรรมและจริยธรรมรวมถึงอาจขาดความรู้ ความเข้าใจถึงวิธีการในการควบคุมหรือลดมลพิษที่อาจเกิดขึ้นได้ซึ่งวิศวกรสิ่งแวดล้อมผู้ที่มีหน้าที่รับผิดชอบโดยตรงจำเป็นที่จะต้องเป็นผู้มีความรู้ ความสามารถในการวิเคราะห์และแก้ไขปัญหามลพิษต่างๆ ทั้งจากชุมชนและโรงงานอุตสาหกรรม รวมทั้งมีคุณธรรม จริยธรรม และจรรยาบรรณของวิชาชีพในการทำงาน

2. ผลกระทบจาก ข้อ 1.1 และข้อ 1.2 ต่อการพัฒนาหลักสูตรและความเกี่ยวข้องกับพันธกิจของสถาบัน
         2.1 การพัฒนาหลักสูตร
ผลกระทบจากสถานการณ์ภายนอกและการพัฒนาทางด้านต่างๆ อย่างกว้างขวาง จึงจำเป็นต้อง
พัฒนาหลักสูตรเชิงรุกที่มีศักยภาพและสอดคล้องกับปัญหาสิ่งแวดล้อมที่เกิดขึ้นในปัจจุบัน และที่อาจเกิดขึ้นได้ในอนาคต โดยการผลิตบุคลากรที่มีความรู้ในทางวิศวกรรมสิ่งแวดล้อมที่มีความพร้อมที่จะปฏิบัติงาน มีความสามารถในการนำความรู้มาใช้ในการจัดการด้านสิ่งแวดล้อมที่มีความพร้อมที่จะปฏิบัติงาน มีความสามารถในการนำความรู้มาใช้ในการจัดการด้านสิ่งแวดล้อม การแก้ไขปัญหาเพื่อลดผลกระทบจากมลพิษสิ่งแวดล้อม มีความสามารถในการปรับตัวเรียนรู้เทคโนโลยีทางด้านทฤษฎี และปฏิบัติ และมีคุณธรรม จริยธรรมในวิชาชีพ

        2.2 ความเกี่ยวข้องกับพันธกิจของสถาบัน
การพัฒนาหลักสูตรได้สอดคล้องกับวิสัยทัศน์ของมหาวิทยาลัยที่เน้นการเป็นมหาวิทยาลัยวิจัยเพื่อการสร้างความเป็นเลิศในการประยุกต์เทคโนโลยี รวมไปถึงการพัฒนานวัตกรรมใหม่ให้สามารถปรับแปลงและถ่ายทอดไปยังภาคอื่นของประเทศได้ ซึ่งเป็นภาระหนึ่งของพันธกิจด้านการผลิตบัณฑิตของมหาวิทยาลัย เพื่อให้ได้บัณฑิตที่มีคุณภาพตามมาตรฐานคุณภาพการอุดมศึกษา ศึกษาวิจัยเพื่อพัฒนาความรู้และนวัตกรรม การบริการวิชาการแก่สังคม คำนึงถึงคุณธรรมและจริยธรรมทางวิชาชีพ การทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม เพิ่มขีดความสามารถของระบบและกลไกการประกันคุณภาพและการจัดการความรู้ และการประยุกต์เทคโนโลยีที่เหมาะสมและพัฒนานวัตกรรม

3. ความสัมพันธ์กับหลักสูตรอื่นที่เปิดสอนในคณะ/ภาควิชาอื่นของสถาบัน
หลักสูตรวิศวกรรมสิ่งแวดล้อม เป็นหลักสูตรที่ต้องอาศัยหลักการพื้นฐานทางวิศวกรรมและหลักการคำนวณเชิงตัวเลข จึงต้องมีความสัมพันธ์กับสาขาวิชาและสำนักวิชาอื่นในมหาวิทยาลัย เพื่อช่วยสนับสนุนการสอนรายวิชาต่างๆ โดยอาจแบ่งได้ดังนี้

        3.1 กลุ่มวิชา/รายวิชาในหลักสูตรนี้ที่เปิดสอนโดยคณะ/ภาควิชา/หลักสูตรอื่น
กลุ่มวิชาพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ ได้แก่ ฟิสิกส์ เคมี แคลคูลัส และ สมการ อนุพันธ์ เปิดสอนโดยสำนักวิชาวิทยาศาสตร์
กลุ่มวิชาภาษาอังกฤษ เปิดสอนโดยสำนักวิชาเทคโนโลยีสังคม
กลุ่มวิชาศึกษาทั่วไป เปิดสอนโดยสำนักวิชาเทคโนโลยีสังคม
กลุ่มวิชาพื้นฐานทางวิศวกรรมศาสตร์ เปิดสอนโดยสาขาวิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ วิศวกรรมเครื่องกล วิศวกรรมไฟฟ้า วิศวกรรมโยธา และวิศวกรรมโลหการ

        3.2 กลุ่มวิชา/รายวิชาในหลักสูตรนี้ที่เปิดสอนให้ภาควิชา/หลักสูตรอื่น ได้แก่วิชา

        3.3 การบริหารจัดการ
หัวหน้าสาขาวิชาเป็นผู้ประสานงานระหว่างสาขาวิชาอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง