การทดสอบแรงบิด (Torsion Test)
      วัสดุวิศวกรรมบางประเภทอาจได้รับแรงบิดในระหว่างการใช้งาน เช่น การทำงานของเพลารถยนต์ในขณะขับเคลื่อน เสากระโดง หัวเจาะ เป็นต้น นอกจากนี้การใช้งานของสะพาน โครงสร้างตัวถังของรถยนต์ เครื่องบิน เรือ หรือชิ้นงานทางวิศวกรรมอื่นๆ โดยทั่วไปก็อยู่ในภาวะที่ได้รับแรงบิดเช่นกัน ดังนั้น วัสดุที่นำมาใช้ทำชิ้นงานดังกล่าวนอกจากต้องมีสมบัติด้านความแข็งแรงที่ดีแล้ว ยังต้องมีความสามารถในการรับแรงบิดได้ดีไปพร้อมกันอีกด้วยเช่นกัน การทดสอบแรงบิดถึงแม้ไม่เป็นที่นิยมแพร่หลายเท่ากับการทดสอบแรงดึง แต่ก็ถือว่ามีความสำคัญในการใช้งานของวัสดุทางวิศวกรรมบางประเภท การทดสอบแรงบิดโดยทั่วไปมักนิยมใช้ทดสอบวัสดุเปราะ อาทิ เหล็กกล้าเครื่องมือ นอกจากนี้การทดสอบแรงบิดที่อุณหภูมิสูงยังใช้เป็นเครื่องมือวัดขีดความสามารถในการตีขึ้นรูป (Forgeability) ได้อีกทางหนึ่งด้วย
      โดยทั่วไปการบิดจะเกิดขึ้นเมื่อให้แรงบิด (Torque) หรือโมเมนต์บิด (Twisting moment) กับชิ้นงาน การทดสอบแรงบิดเป็นการหาค่าพารามิเตอร์ที่สำคัญต่างๆ ได้แก่ ค่าความแข็งแรงแรงเฉือนสูงสุด (Ultimate torsional shearing strength หรือ Modulus of rupture) ค่าโมดูลัสแรงเฉือน (Shear modulus หรือ Modulus of rigidity) เป็นต้น นอกจากนี้ การตรวจสอบลักษณะพื้นผิวการแตกหักของชิ้นงานทดสอบยังสามารถใช้เป็นดัชนีบ่งชี้ถึงความเปราะความเหนียวของวัสดุนั้นได้อีกด้วย

;
เพลาที่เสียหายจากผลของแรงบิด การบิดที่เกิดในแท่งทรงกระบอกตัน  
เครื่องทดสอบแรงบิด การทดสอบแรงบิด ชิ้นงานที่ใช้ทดสอบ

   ปฏิบัติการนี้ศึกษาการทดสอบหาสมบัติของวัสดุในรูปแบบการบิดทดสอบ โดยนำชิ้นงานทดสอบแท่งกลมมายึดปลายเข้ากับเพลาที่มีปลอกยึดรูปหกเหลี่ยม จากนั้นชิ้นงานทดสอบจะถูกบิดโดยออกแรงหมุนที่ก้านหมุน เกิดแรงบิดจนกระทั่งชิ้นงานทดสอบแตกหัก การทดสอบสนใจศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างแรงบิดและค่ามุมที่บิดตัวไป (Degree of rotation) และค่าโมดูลัสแรงเฉือน

[เอกสารประกอบปฏิบัติการ] [บรรยายสรุปปฏิบัติการ]