ปรัชญาการผลิตบัณฑิต


      การบริหารจัดการงานภาคอุตสาหกรรมต้องอาศัยความรู้แบบบูรณาการเพื่อประยุกต์ใช้ในการออกแบบและควบคุมระบบให้เป็นไปอย่างมาตรฐานและปลอดภัย ความรู้ด้านวิศวกรรมเครื่องกลซึ่งสอดคล้องกับปรัชญาดังกล่าวจึงเป็นที่ต้องการของตลาดแรงงานมากที่สุดสาขาหนึ่ง ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน วัตถุประสงค์ในการผลิตวิศวกรเครื่องกล เพื่อต้องการผู้ที่มีความรู้ในการออกแบบและผลิตอุปกรณ์ทางวิศวกรรม ระบบควบคุมอัตโนมัติ การติดตั้ง การใช้งาน ความปลอดภัย และการบำรุงรักษาเครื่องจักกล การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีใหม่ๆ ในการออกแบบและผลิต บนพื้นฐานทางเศรษฐศาสตร์วิศวกรรม


การจัดการเรียนการสอน

      การจัดการเรียนการสอนของสาขาวิชาวิศวกรรมเครื่องกลแบ่งเป็น 2 ส่วนหลัก คือ ภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติ เพื่อให้นักศึกษาได้ความรู้เชิงทฤษฎีและทักษะในเชิงปฏิบัติไปพร้อมกัน เนื้อหาการสอนเป็นไปตามสังเขปที่ปรากฏในหลักสูตร ในช่วงปี 3-4 นักศึกษาจะได้บูรณาการความรู้ท้งหมดที่เรียนผ่านมาเพื่อทำโครงงานวิศวกรรมเครื่องกล จากนั้นจะได้ออกปฏิบัติงานจริงในสถานประกอบการภายใต้โครงการสหกิจศึกษาเป็นเวลา 4-8 เดือน สังเขปการเรียนแต่ละชั้นปีคือ
- ปีที่ 1 เรียนรายวิชาพื้นฐานคณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ และวิชาศึกษาทั่วไป
- ปีที่ 2 เรียนรายวิชาพื้นฐานทางด้านวิศวกรรม
- ปีที่ 3 เรียนรายวิชาเฉพาะทางด้านวิศวกรรมเครื่องกล
- ปีที่ 4 เรียนปฏิบัติการวิศวกรรมเครื่องกล ทำโครงงานวิศวกรรม และออกสหกิจศึกษา
      
 

 การสอนภาคทฤษฎี
   การเรียนการสอนภาคทฤษฎีมีความจำเป็นอย่างยิ่งในการสร้างฐานความรู้ทางวิศวกรรมที่เข้มแข็งแก่นักศึกษา ให้สามารถนำไปประยุกต์ใช้ในการประกอบวิชาชีพในอาคต ให้มีทักษะด้านการวิเคราะห์และออกแบบอย่างมีหลักการ สาขาวิชาให้ความสำคัญในเรื่องดังกล่าวโดยจัดบุคลากรที่มีรู้ ทั้งคณาจารย์ประจำ คณาจารย์พิเศษ และผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้านมาบรรยายแก่นักศึกษา

 ปฏิบัติการวิศวกรรม
   การเรียนการสอนภาคปฏิบัติถูกจัดขึ้นเพื่อให้นักศึกษาในหลักสูตรได้ทักษะการลงมือปฏิบัติ การเขียนรายงานทางวิศวกรรม การคิดวิเคราะห์ และการนำเสนองานทางวิศวกรรม สาขาให้ความสำคัญโดยจัดให้นักศึกษาวิศวกรรมเครื่องกลทุกคนต้องผ่านการทำปฏิบัติการถึง 5 รายวิชา ได้แก่ ปฏิบัติการวิศวกรรมการผลิต ปฏิบัติการเครื่องจักรกลไฟฟ้า ปฏิบัติการพื้นฐานวิศวกรรมเครื่องกล ปฏิบัติการความร้อนของไหล และปฏิบัติการระบบควบคุมและอัตโนมัติ ซึ่งเป็นจำนวนที่ต้องทำมากกว่า 50 ปฏิบัติการ

โครงงานวิศวกรรม
       โครงงานวิศวกรรมเป็นวิชาบังคับที่นักศึกษาวิศวกรรมเครื่องกลทุกคนต้องผ่าน เพื่อให้นักศึกษาได้บูรณาการความรู้ที่เรียนมาแก้ปัญหาทางวิศวกรรม นักศึกษาจะได้วางแผนการทำโครงการ บริหารต้นทุน ฝึกทักษะการออกแบบ การคิดวิเคราะห์อย่างเชื่อมโยง การสร้างชิ้นงาน การติดต่อประสานงาน และนำเสนองานต่อสาธารณะ ที่ผ่านมามีนักศึกษาเข้าทำโครงงานวิศวกรรมแล้วกว่า 700 โครงงาน หลายโครงงานมีคุณค่าเชิงวิชาการจนนำเสนอผลงานระดับชาติได้ หลายโครงงานนำไปสู่การจดสิทธิบัติ หลายโครงงานช่วยสนับสนุนการวิจัยระดับปริญญาโท-เอก หลายโครงการช่วยแก้ปัญหาให้สถานประกอบการจนสร้างเครดิตให้นักศึกษาได้งานเมื่อจบ

(ซ้าย) โครงงานสร้างต้นแบบจักรยานกลไกการปั่นแบบเชิงเส้น ซึ่งสามารถช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการปั่นได้กว่า 36 เปอร์เซ็นต์ (กลาง) โครงงานสร้างต้นแบบส่วนทดสอบสำหรับเครื่อง PIV และ (ขวา) การใช้เทคนิกวิศวกรรมย้อนรอย ในโครงงานการจำลองการไหลแบบปั่นป่วนผ่านแบบจำลองของเครื่องบิน Airbus A380

  สหกิจศึกษา

       นักศึกษาวิศวกรรมเครื่องกลทุกคนต้องออกสหกิจศึกษาอย่างน้อย 1 ครั้ง เป็นระยะเวลา 4 เดือน (และสามารถออกต่อเนื่องได้ถึง 8 เดือน) เป็นวิชาที่ต้องผ่านก่อนจบการศึกษา ปัจจุบัน สาขาวิชามีความร่วมมือกับสถานประกอบการ (ผ่านศูนย์สหกิจศึกษาและพัฒนาอาชีพ มทส) กว่า 200 แห่งทั่วประเทศ ที่พร้อมจะรับนักศึกษาเข้าร่วมโครงการ โดยจะรับนักศึกษาเข้าทำงานภายใต้การดูแลของพี่เลี้ยง นักศึกษาจะได้เรียนรู้ทักษะการทำงานร่วมกับผู้อื่น การแก้ปัญหา และสัมผัสชีวิตการทำงานจริง เมื่อจบโครงการนักศึกษาจะได้รับการประเมินผลงานโดยสถานประกอบการและมหาวิทยาลัย ตลอดช่วงที่ผ่านมาสหกิจศึกษาช่วยสร้างโอกาสการได้งานแก่นักศึกษาอย่างมาก หลายคนได้รับการทาบทามให้กลับไปร่วมงานหลังจากเรียนจบแล้ว ส่งผลให้นักศึกษาวิศวกรรมเครื่องกลมีอัตราการได้งานสูงที่สุดเป็นอันดับต้นๆ
(บนขวา) อาจารย์ของสาขาวิชาเข้าเยี่ยมนักศึกษาที่ออกสหกิจศึกษาที่สถานประกอบการ (ล่างซ้าย) นักศึกษาที่ออกสหกิจศึกษา ณ บริษัท ดินีลี่ ฟาร์อีสต์ เขตอุตสาหกรรมอิสเทิร์นซีบอร์ด ระยอง (ล่างกลาง) นักศึกษาที่ออกสหกิจศึกษา ณ บริษัท DANA Spicer เขตอุตสาหกรรมอิสเทิร์นซีบอร์ด ระยอง (ล่างขวา) ทีมนักศึกษาที่ออกสหกิจศึกษา และพี่เลี้ยง ณ บริษัท UIF อ.บ้านค่าย ระยอง

  การศึกษาดูงานนอกสถานที่

       การศึกษาดูงานนอกสถานที่เป็นหนึ่งในกิจกรรมหลักของหลักสูตร ที่ทางสาขาวิชาวิศวกรรมเครื่องกลจัดเป็นประจำทุกปีให้แก่นักศึกษาชั้นปีที่ 3 ได้มีโอกาสได้เห็นบรรยากาศการทำงานจริงในสถานประกอบการ ได้เห็นกระบวนการผลิตและเทคโนโลยีใหม่ๆ ที่เป็นปัจจุบัน มีโอกาสพูดคุยซักถามข้อสงสัยต่างๆ กับผู้เชี่ยวชาญโดยตรง ที่ผ่านมาสาขาวิศวกรรมเครื่องกลได้พานักศึกษาเข้าดูงานในสถานประกอบการต่างๆ มาแล้วกว่า 100 แห่ง อาทิ บริษัท Auto Alliance, บริษัท Western Digital, บริษัท HGST, บริษัท Thai Summit, บริษัท Tokai, บริษัท Danilie Fareast เป็นต้น

     
(สองรูปซ้าย) การศึกษาดูงานที่บริษัทไทยซัมมิต เขตอุตสาหกรรมอิสเทิร์นซีบอร์ด ระยอง (สองรูปขวา) การศึกษาดูงานที่บริษัทโตไก อิสเทิร์น รับเบอร์ เขตอุตสาหกรรมอิสเทิร์นซีบอร์ด ระยอง
[รวมภาพบรรยากาศการศึกษาดูงาน]


การดูแลนักศึกษา

       สาขาวิชาวิศวกรรมเครื่องกลให้ความสำคัญกับการดูแลนักศึกษาในกำกับมากที่สุด โดยมีระบบอาจารย์ที่ปรึกษาที่จะคอยให้คำแนะนำนักศึกษาในหลักสูตรทุกคนในด้านการเรียน การทำโครงงานวิศวกรรม การออกสหกิจศึกษา ตลอดจนการดำเนินชีวิต อาจารย์แต่ละท่านจะมีชั่วโมง Office hours เพื่อให้นักศึกษาได้เข้าปรึกษา นักศึกษาแต่ละคนจะมีแฟ้มพบอาจารย์ที่ปรึกษาเพื่อใช้รายงานแผนการเรียนและผลการเรียน ในแต่ละภาคการศึกษาจะมีการกำหนดให้นักศึกษาต้องเข้าพบอาจารย์ที่ปรึกษาของตนเองอย่างน้อย 3 ครั้ง คือ ช่วงต้นภาค ปลางภาค และปลายภาค นอกจากนี้ด้วยระบบฐานข้อมูลของมหาวิทยาลัย ช่วยให้คณาจารย์สามารถติดตามการเรียนของนักศึกษาได้อย่างใกล้ชิด สิ่งเหล่านี้มีส่วนช่วยนักศึกษาที่มีผลการเรียนต่ำให้พ้นวิกฤติและสามารถประคองการเรียนจนจบการศึกษาได้เป็นจำนวนหลายราย และช่วยผลักดันให้นักศึกษาที่ผลการเรียนดีได้ประสบผลสำเร็จในระดับที่สูงขึ้นไป

   นอกจากนี้สาขาวิชายังมีกิจกรรมเสริมด้านวิชาการแก่นักศึกษาในหลักสูตร เช่น จัดติวเตรียมความพร้อมในการสอบขอใบประกอบวิชาชีพวิศกร จัดติวเตรียมความพร้อมสอบ TOIEC จัดฝึกอบรมความรู้ด้านการใช้คอมพิวเตอร์ช่วยงานวิศวกรรม เป็นต้น

(บน) การประชุมสาขาช่วงต้นภาคการศึกษา เป็นส่วนหนึ่งของกิจกรรมการดูแลนักศึกษาในหลักสูตร
(ซ้าย) การบรรยายพิเศษโดยคณะผู้เชี่ยวชาญรับเชิญจากบริษัท LG


สถิติบัณฑิตของสาขาวิชา

สถิติจำนวนบัณฑิตที่จบการศึกษา



สถิติการได้งาน/เรียนต่อ



ฐานเงินเดือนเริ่มต้นของนักศึกษาวิศวกรรมเครื่องกลที่จบการศึกษาได้รับ


(หมายเหตุ: รายได้ที่ปรากฏยังไม่รวมค่าสวัสดิการและอื่นๆที่จะได้รับเพิ่มเติม)


ตัวอย่างความสำเร็จ

กิตติศักดิ์ สุวรรณวรางกูร (กอล์ฟ)
สถานที่ทำงาน: บริษัท โตโยต้า มอเตอร์ ประเทศไทย จำกัด (ฉะเชิงเทรา)
ตำแหน่ง: วิศวกร ฝ่ายควบคุมคุณภาพ
หน้าที่: ควบคุมคุณภาพของชิ้นส่วนรถยนต์ ก่อน/ ระหว่าง/ หลังการประกอบ
ฝากถึงน้องๆ: สำหรับน้องๆ ที่กำลังเรียนอยู่ ขอให้ตั้งใจเรียน พยายามศึกษาหาความรู้และลงมือปฏิบัติในงานที่เกี่ยวข้องกับวิชาชีพของตนให้มากที่สุด เพราะเมื่อจบออกไปจะมีความได้เปรียบคนอื่นๆ ที่มีความสามารถแต่ไม่พร้อมที่จะปฏิบัติงานจริง
นราวดี รวมไหม่ (นรา)
สถานที่ทำงาน: บริษัท HGST Co.Ltd. (ปราจีนบุรี)
ตำแหน่ง: Process Engineer
หน้าที่: ควบคุมกระบวนการผลิตฮาร์ดดิสไดรฟ์
ฝากถึงน้องๆ: ขึ้นชื่อว่าวิศกรไม่ว่าชายหรือหญิง ทุกคนมีสิทธิ เสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นความสามารถที่ตนมีได้อย่างเต็มที่และเท่าเทียมกัน สำหรับเด็กที่จบจาก ม.สุรนารี คนภายนอกมักมองว่าอดทนและมุ่งมั่น ซึ่งอาจารย์ได้อบรมให้เราศรัทธาและไม่งอแง จึงขอให้น้องทุกคน ประสบความสำเร็จในชีวิต หน้าที่การงาน และครอบครัวอย่างมีวิสัยทัศน์ ตลอดจนเป็นผู้เสียสละเพื่อสังคม
วิเชียร บาทวงษ์ (เชียร)
สถานที่ทำงาน: โรงไฟฟ้าแม่เมาะ (จังหวัดลำปาง)
ตำแหน่ง: วิศวกร ระดับ 8 แผนกวางแผนบำรุงรักษา กองบำรุงรักษากลาง ฝ่ายบำรุงรักษาโรงไฟฟ้าแม่เมาะ
หน้าที่: รับผิดชอบด้านการวิเคราะห์การสั่นสะเทือนอุปกรณ์หมุนโรงไฟฟ้าแม่เมาะ ทำ Field Balance อุปกรณ์หมุนโรงไฟฟ้าแม่เมาะ ทำ Laser Alignment อุปกรณ์
ฝากถึงน้องๆ:


   Copyright © 2013 ME-SUT. All rights reserved.

 


เกี่ยวกับเรา

หลักสูตร

บุคลากร

วิจัย/ร่วมมือ

แผนการเรียน

เอกสารเรียน

ข่าวสาร

กิจกรรม

ศิษย์เก่า

ทุน/กองทุน

นานาสาระ

เวบเกี่ยวข้อง

ME เฟซบุค


ข้อมูลการผลิตบัณฑิต
ปรัชญาการผลิตบัณฑิต
การจัดการเรียนการสอน
การดูแลนักศึกษา
สถิติบัณฑิตของสาขาวิชา
ตัวอย่างความสำเร็จ