ถาม-ตอบ อย่างไรให้ได้งาน

     คนบางคนเกิดมาตั้งหลายปี แต่ยังไม่มีวี่แววว่าจะพูดเก่งทว่าคนพูดเกงอาจกลายเป็นคนพูดไม่รู้เรื่อง และคนพูดไม่เก่งอาจเป็นใบ้ขึ้นมาได้ง่ายๆ หากตกอยุ่ในสถานการณ์ที่เต็มไปด้วยความบีบคั้น อย่างเช่นเวลาถูกสัมภาษณ์เพื่อรับเข้าทำงาน



       ต่อไปนี้คือเคล็ดลับในการพูดคุยในห้องสัมภาษณ์ที่จะช่วยให้คุณทั้งถามและตอบอย่างไม่ผิดพลาด

5 Tips เพิ่มโอกาศ
       1. ส่งภาษากายที่เป็นบวก นอกจากคุณต้องการพยายามสื่อสารพูดคุยให้ภาพลักษณ์ของตัวเองดูดีแล้ว อย่าลืมสบตาผู้สัมภาษณ์อมยิ้มน้อยๆ ไม่กอดอก ไม่ทำหน้านิ่วคิ้วขมวดหรือหัวเราะกว้างจนเสียจริต ฯลฯ เพราะอาการเหล่านี้สื่อความหมายทางลบ และอาจทำให้คะแนนของคุณหล่นวูบได้
       2. ตื่นเต้นนะ...แต่ต้องไม่แสดงออก ความตื่นเต้นเป็นธรรมดาแต่ต้องระวังไม่ทำให้ผู้สัมภาษณ์รู้สึกว่าคุณตื่นเต้นมากเกินไปเพราะเขาจะรู้สึกอึดอดได้ วิธีง่ายๆ คือ ตั้งสติ ควบคุมน้ำเสียงของตัวเองไม่ให้พูดช้าหรือเร็วจนเกินไป และพยายามฟังอย่างตั้งใจ
       3. อย่าถามเรื่องที่ควรรู้ล่วงหน้า ไม่ควรถามคำถามที่เบสิกมากๆ เช่น “มีรถเมย์สายไหนผ่านบ้างค่ะ” หรือ “ต้องทำงานวันเสาร์ไหมครับ” เพราะคำถามแรกเป็นคำถามที่เกี่ยวกับการเดินทางเป็นเรื่องทีคุณควรจัดการเองได้ ส่วนคำถามข้อหลังอาจสื่อความหมายว่าคุณไม่ชอบทำงานหรือไม่สะดวกทำงานวันเสาร์ ซึ่งปัจจุบันเกือบทุกบริษัทมักให้พนักงานทำงานวันเสาร์ด้วย
      4. ทุกคำถามคือคะแนน จำให้ขึ้นใจว่า เราต้องตอบคำถามทุกข้อด้วยความตั้งใจที่สุด และไม่คิดว่าคำถามบางข้อเป็นคำถามที่ไร้สาระ บางครั้งผู้สัมภาษณ์อาจถามเรื่องส่วนตัว เช่น คุณขับรถยี่ห้อไหน ภาพยนตร์เรื่องสุดท้ายที่ดูคือเรื่องอะไร ฯลฯ ซึ่งคุณอาจคิดในใจว่า ไม่เห็นเกี่ยวกับงานสักหน่อย
       ที่จริงแล้วผู้สัมภาษณ์ย่อมต้องการผู้ร่วมงานที่ดีที่สุดและเหมาะสมที่สุด จึงต้องการรู้ข้อมูลส่วนตัวเพื่อประกอบการพิจารณา ดังนั้นคุณจึงควรตอบคำถามอย่างไม่มีอคติ ส่วนคำถามยากๆ หรือปัญหาเชาวน์อบ่าง สัตว์อะไรตัวเล็กที่สุดในโลก หรือ ไก่กับไข่อะไรเกิดก่อนกัน ฯลฯ ก็เป็นคำถามที่ผู้สัมภาษณ์อาจถามได้เช่นกัน ในกรณีผู้สัมภาษณ์ไม่ได้ต้องการคำตอบที่ถูกต้อง แต่ต้องการเห็นกระบวนการคิดของคุณ ดังนั้นจงแสดงให้เค้ารู้ว่าทำไมคุณจึงตอบเช่นนั้น
       ใช้เทคนิคมิเรอร์-มิเรอร์ เป็นเทคนิคทางจิตวิทยาที่จะทำให้คู่เจรจาคล้อยตามได้ง่ายขึ้น วิธีคือ ให้สังเกตท่าทางของผู้เจรจาในทางด้านบวกที่โดดเด่น ตัวอย่างเช่น ถ้าในขณะที่ผู้สัมภาษณ์หัวเราะ เขามักจะจับผมไปด้วย คุณก็อาจจะทำตามเช่นกันเดียวกันขณะตอบคำถาม วิธีนี้แม้คำตอบของคุณอาจจะยังไม่สามารถเรียกรอยยิ้มได้ แต่เมื่อคุณพูดพร้อมๆ จับผมไปด้วยเขาจะเกิดความรู้สึกบวกหรือยิ้มตามไปโดยอัติโนมัติ

รับมือคำถามสุดหิน
ต่อไปนี้คือคำถามที่ผู้สมัครงานถูกถามบ่อยๆ และมักทำให้รู้สึกยะเยือกทุกครั้งที่ได้ยิน

“งานเก่าก็ดีอยู่แล้ว ทำไมถึงเปลี่ยนเสียละ”
       อย่าตื่นเต้นกับคำถามนี้ เพราะคนเราเปลี่ยนงานกันเป็นเรื่องธรรมดา ผู้สัมภาษณ์เพียงแต่ถามตามปกติเท่านั้น คุณควรตอบคำถามให้กระชับและ ห้ามพูดพาดพิงถึงที่ทำงานเก่าหรือเจ้านายเก่าในแง่ร้ายอย่างเด็ดขาด ตัวอย่างเช่น “ดิฉันใฝ่ฝันที่จะได้ร่วมงานกับบริษัทที่มีความมั่นคงอย่างบริษัทของท่านมานานแล้วคะ”......ฟังดูเลี่ยนไหม.....ไม่หรอก ใครๆก็มีสิทธิ์ฝัน และการได้เป็นบริษัทในฝันของใครสักคนก็เป็นเรื่องน่าปลื้มจนไม่มีใครคิดว่าโอเวอร์

“คุณต้องการเงินเดือนเท่าไร”
       เรื่องเงินเดือนและผลตอบแทนเป็นเรื่องที่คุณควรสืบไว้ก่อนล่วงหน้า คุณสารถบอกตัวเลขที่คิดว่าคุณควรได้อย่างมั่นใจ เพราะทุกบริษัทคิดไว้แล้วว่าเขาจะจ้างตำแหน่งไหนด้วยเงินเดือนเท่าไร ถ้าคุณมีคุณสมบัติดีที่สุด แต่เรียกเงินเดือนสูงกว่าที่เขาจะจ่ายได้ เขาจะบอกคุณตรงๆ เพราะไม่มีบริษัทดีๆ ที่ไหนจะเลือกคนที่ดีรองลงมาด้วยเหตุผลที่ว่าคนคนนั้นเรียกเงินเดือนต่ำกว่าคุณ

“คนมักเข้าใจผิดเกี่ยวกับคุณเรื่องอะไร”
       จำไว้ว่าสิ่งที่คนมักเข้าใจผิดมักเป็นสิ่งที่เป็นตัวคุณจริงๆ คำถามนี้มีเจตนาให้คุณบอกข้อเสียของตัวเองออกมา ขอให้คุณเลือกตอบข้อเสียที่ดูเป็นข้อดีได้ เช่น “ผมเป็นคนที่ทุ่มเทให้การทำงานมาก จนบางครั้งเพื่อนร่วมงานติงว่าซีเรียสเกินไป ซึ่งผมพยายามผ่อนคลายมากขึ้น” คำตอบนี้เป็นคำตอบที่ทำให้คุณดูดีและไม่โอ้อวดเกินไป แต่ถ้าคุณตอบไปตามจริงโดยไม่เลือกเลย คำตอบอาจฆ่าคุณได้ เช่น “เพื่อนร่วมงานมักเข้าใจผิดว่าดิฉันไม่ทันคน แต่จริงๆดิฉันแค่เกรงใจน่ะค่ะ” จากคำตอบนี้ ผู้สัมภาษณ์จะเข้าใจว่าคุณเป็นคนอ่อนต่อโลกทันที

“คุณวางแผนในอีก 3 ปีข้างหน้าไว้ว่าอย่างไรบ้าง”
       แม้ว่าคุณจะไม่เคยวางแผนใดๆ ไว้เลย ก็ไม่ควรตอบว่า “ไม่รู้” เป็นอันขาด เพราะจะทำลายโอกาสในการแสดงความคิดเห็นของคุณและวิธีที่ถูกนั้นคนเราควรวางแผนการในชีวิตไว้บ้าง คำตอบที่น่าจะใช้ในกรณีนี้ ได้แก่ “ดิฉันอยากจะพัฒนาตัวเองในตำแหน่งนี้ให้เจริญก้าวหน้ามากที่สุด จนสามารถยิ้มได้เมื่อย้อนกลับมาคิดถึงวันแห่งการเริ่มต้นนี้ค่ะ.....” ว้าว! ฟังดูดีอีกแล้วใช่ไหมละ แต่นี่แหละคือสิ่งที่คุณต้องทำให้เกิดขึ้นบ่อยๆ ในห้องสัมภาษณ์

เมื่อถึงคิวที่ต้องถาม.....ถามไรดี
ผู้สมัครบางคนจะรู้สึกตื้นเต้นขึ้นมาทันทีเมื่อได้ยินประโยคที่ว่า “มีอะไรจะถามไหมครับ” ซึ่งมักจะอยู่ช่วงท้ายๆ ของการสัมภาษณ์ เพราะที่ผ่านมาคุณเป็นฝ่ายที่ต้องตอบคำถามมากมาย ดังนั้นเมื่อถึงเวลาที่จะได้ถามบ้างกลับนึกไม่ออก ลองดูคำถามที่น่าถามต่อไปนี้

“ช่วยเล่าถึงหน้าที่ความรับผิดชอบที่ผมต้องดูแลว่ามีอะไรบ้าง”
       คุณจะได้ทราบขอบเขตการทำงานอย่างละเอียดมากขึ้น ส่วนผู้สัมภาษณ์ก็จะมองเห็นความกระตือรือร้นและความตั้งใจจริงของคุณด้วย

“ดิฉันมีคุณสมบัติเหมาะสมกับตำแหน่งนี้มากน้อยแค่ไหนคะ”
       แม้คำถามนี้จะดูน่ากลัว เพราะเหมือนกับเรากำลังขอให้เขาให้คำตอบว่า จะ “รับ”หรือ “ไม่รับ” แต่ถึงกระนั้นก็เป็นคำถามที่ควรถาม เพราะไม่ว่าจะได้คำตอบแง่บวกหรือลบคุณก็นำไปพัฒนาตัวเองได้

“ขอทราบเกี่ยวกับการเลื่อนตำแหน่งหรือโอกาสในการเจริญเติบโตครับ”
       เขาจะได้รู้ว่าคุณไม่ได้มองการทำงานที่บริษัทของเขาเป็นแค่ทางผ่านแต่เป็นอาชีพที่คุณพร้อมจะร่วมหัวจมท้ายไปด้วยกันเลยที่เดียว

“บริษัทส่งเสริมการฝึกอบรมหรือเพิ่มเติมความรู้แก่พนักงานอย่างไรบ้าง”
       การถามคำถามนี้เพื่อเป็นการบอกเป็นนัยๆว่า คุณเป็นคนใฝ่รู้และชอบพัฒนาตัวเอง

ขอแนะนำว่าการเตรียมตัวถาม-ตอบ และฝึกซ้อมหน้ากระจกเป็นสิ่งที่คุณควรทำอย่างยิ่ง และพึ่งระลึกไว้ว่าทัศนคติที่ดีคือสิ่งที่ผู้สัมภาษณ์ต้องการมากที่สุด เหมือนที่ ซิก ซิกลาร์ (Zig Ziglar) นักบริหารงานบุคคลชื่อดังแห่งสหรัฐอเมริกากล่าวไว้ว่า

“ไม่ใช่ความสามารถ แต่เป็นทัศนคติต่างหากที่จะตัดสินใจว่า ตำแหน่งไหนที่เหมาะกับคุณ”




   Copyright © 2013 ME-SUT. All rights reserved.

 


เกี่ยวกับเรา

หลักสูตร

บุคลากร

วิจัย/ร่วมมือ

แผนการเรียน

เอกสารเรียน

ข่าวสาร

กิจกรรม

ศิษย์เก่า

ทุน/กองทุน

นานาสาระ

เวบเกี่ยวข้อง

ME เฟซบุค


ข้อมูลเกร็ดความรู้
ใบประกอบวิชาชีพวิศวกรรม
คลังข้อสอบสภาวิศวกร
รู้วิธีเขียน เรียนได้เกรดเอ

ถาม-ตอบ อย่างไรให้ได้งาน