ความรู้เกี่ยวกับสภาวิศวกรและการขอใบประกอบวิชาชีพ (ใบ กว)



ใบประกอบวิชาชีพวิศวกรมีความสำคัญมาก โดยเฉพะอย่างยิ่งกับผู้ที่วางแผนจะเข้าทำงานโครงการต่างๆ ที่ต้องมีการเซ็นต์รับรองแบบ งานรัฐวิสาหกิจ งานราชการ และงานของภาครัฐต่างๆ สำหรับภาคเอกชนมีหลายหน่วยงานที่ให้ความสำคัญเช่นกัน โดยผู้ที่มีใบประกอบวิชาชีพจะได้ค่าตอบแทนเพิ่มเติมจากปกติมากกว่าผู้ที่ไม่มี

ความเป็นมา

  พ.ศ.2486 วิศวกรไทยรวมตัวกันภายใต้สถาบันวิชาชีพ คือ “วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์ (ว.ส.ท.)”
  พ.ศ. 2505 สภาพเศรษฐกิจ สังคมเปลี่ยนแปลง ความต้องการวิศวกรมากขึ้น มีการเร่งผลิตวิศวกรจนเป็นผลให้งานวิศวกรรมมีปัญหาเรื่องคุณภาพ จำเป็นต้องปลูกฝังจิตสำนึกด้านจรรยาบรรณและการพัฒนาวิชาชีพอย่างต่อเนื่อง จึงได้ตรา “พระราชบัญญัติควบคุมการประกอบวิชาชีพวิศวกรรม”
  เกิดเหตุการณ์รุนแรงหลายครั้งกระทบความน่าเชื่อถือของวิชาชีพวิศวกรรม อาทิ รถบรรทุกแก็สระเบิดที่ถนนเพชรบุรีตัดใหม่ ไฟไหม้โรงงาน อาคารถล่มที่นครราชสีมา เกิดความสูญเสียจำนวนมาก ทบวงมหาวิทยาลัยและ วสท. จึงระดมความคิดและได้ข้อสรุปจัดตั้ง “สภาวิศวกร” เมื่อปี 2542

4 ข้อสรุปในการจัดตั้ง

  ให้มีสภาวิชาชีพที่สามารถปกครอง ควบคุมและกำกับดูแลกันเอง สภาวิศวกรจึงต้องมาจากการเลือกตั้งของสมาชิก
  ให้มีความคล่องตัวในการบริหารงานโดยอิสระจึงต้องมีสภาพเป็นนิติบุคคล
  ให้สภาวิศวกรมีอำนาจหน้าที่ในการกำกับดูแลควบคุม ส่งเสริม และสนับสนุนให้เกิดการพัฒนาการประกอบวิชาชีพอย่างต่อเนื่องทันต่อวิทยาการและความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี
  ให้มีการประกอบวิชาชีพด้วยมาตรฐานหนึ่งเดียวไม่ว่าจะเป็นราชการหรือเอกชน และจะไม่มีการยกเว้นสำหรับคนต่างชาติ

หน้าที่ของสภาวิศวกร

  ออกใบอนุญาต (ใบ กว.) ให้แก่ผู้ประกอบวิชาชีพวิศวกรรมควบคุม พิจารณาพักใช้ใบอนุญาตหรือเพิกถอนใบอนุญาต รับรองปริญญา ประกาศนียบัตรหรือวุฒิบัตรในการประกอบวิชาชีพวิศวกรรมควบคุม
  รับรองความรู้ความชำนาญในการประกอบวิชาชีพวิศวกรรมควบคุม
  เสนอแนะรัฐมนตรี เกี่ยวกับการกำหนดและการเลิกสาขาวิศวกรรมควบคุมและออกข้อบังคับสภาวิศวกร โดยความเห็นชอบของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยในฐานะสภานายกพิเศษ

องค์ประกอบของสภาวิศวกร

        1. สมาชิกสภาวิศวกร มาจากวิศวกรที่จบอย่างเราสมัครเข้าเป็นสมาชิก แบ่งออกเป็น 3 ประเภท คือ สมาชิกสามัญ สมาชิกวิสามัญ และสมาชิกกิตติมศักดิ์ ทำหน้าที่อนุมัตินโยบายการบริหารงานของคณะกรรมการสภาวิศวกร
        2. คณะกรรมการสภาวิศวกร 20 คน มาจากการเลือกตั้งและแต่งตั้ง - ผู้ประกอบวิชาชีพ 10 คน (เลือกตั้งโดยสมาชิกสภาวิศวกร) - อาจารย์สถาบันการศึกษา 5 คน (เลือกตั้งโดยสมาชิกสภาวิศวกร) - ผู้ทรงคุณวุฒิ 5 คน (แต่งตั้งคณะรัฐมนตรีโดยการเสนอของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย) ทำหน้าที่ออกใบอนุญาตฯ รับรองปริญญาฯ รับรองความรู้ความชำนาญพิเศษ และออกข้อบังคับ ระเบียบต่างๆ
        3. คณะกรรมการจรรยาบรรณ แต่งตั้งตามมติของที่ประชุมใหญ่สภาวิศวกร ทำหน้าที่พิจารณาวินิจฉัย กรณีที่มีการกล่าวหาว่าผู้ได้รับใบอนุญาตฯ ประพฤติผิดจรรยาบรรณแห่งวิชาชีพ
        4. คณะอนุกรรมการ คณะทำงาน และผู้ชำนาญพิเศษ แต่งตั้งจากที่ประชุมกรรมการสภาวิศวกร ทำหน้าที่ตามที่กรรมการสภากำหนด
        5. ผู้ตรวจสภาวิศวกร แต่งตั้งโดยประชุมใหญ่สภาวิศวกร โดยคัดเลือกจากสมาชิกหรือบุคคลภายนอก ทำหน้าที่ตรวจสอบการดำเนินงานของคณะกรรมการสภาวิศวกรแล้วทำรายงานเสนอต่อที่ประชุมใหญ่
        6. สำนักงานสภาวิศวกร

การขอรับใบอนุญาติระดับภาคีวิศวกร

       ผู้ที่จบหลักสูตรตั้งแต่ 1 มกราคม 2552 เป็นต้นไป (หรือก่อนหน้านี้ที่ยังไม่เคยขอ) จะต้องผ่านการทดสอบความรู้ โดยมีเกณฑ์ดังนี้
         1. จบจากหลักสูตรและสถาบันการศึกษาที่ผ่านการรับรองจากสภาวิศวกร
         2. ได้เรียนในหลักสูตร โดยมีรายวิชาและหน่วยกิตตามที่กำหนด
         3. ต้องผ่านการสอบใน “หมวดวิชาพื้นฐานทางวิศวกรรม” และ “หมวดวิชาเฉพาะทางวิศวกรรม” ซึ่งจัดสอบโดยสภาวิศวกร
         4. ต้องผ่านการอบรมและทดสอบความพร้อมในการประกอบวิชาชีพวิศวกรรม

ใครบ้างที่ควรมีไว้ประดับบารมี ?

        โยธา ไฟฟ้า เครื่องกล อุตสาหการ เหมืองแร่ (โลหการ) สิ่งแวดล้อม เคมี

การทดสอบความรู้ผู้ขอรับใบอนุณาต ?

      1. หมวดวิชาพื้นฐานทางวิศวกรรม
          มีจำนวน 4 วิชา ผู้เข้าสอบต้องสอบทั้ง 4 วิชา วิชาละ 25 ข้อ รวม 100 ข้อ (คะแนนแต่ละข้อเท่ากัน)
          1.1 วิชา Engineering Drawing
          1.2 วิชา Engineering Mechanics-Statics
          1.3 วิชา Engineering Materials
          1.4 วิชา Computer Programming
      
      2. หมวดวิชาวิศวกรรมเฉพาะ
          แบ่งเป็น 8 กลุ่มวิชา จำนวน 24 วิชา ผู้เข้าสอบเลือกสอบ 4 จาก 8 กลุ่มวิชา แต่ละกลุ่มเลือกสอบเพียง 1 วิชา วิชาละ 25 ข้อ รวม 100 ข้อ (คะแนนแต่ละข้อเท่ากัน)
          กลุ่มวิชาเลือก 1
            1.1 Mechanics of Machinery/ Dynamics of Machines
            1.2 Ship Dynamics
            1.3 Dynamics of Vehicles
            1.4 Mechanics of Flight
            1.5 Theory of Agricultural Machines
          กลุ่มวิชาเลือก 2
            2.1 Machine Design / Mechanical Design
            2.2 Ship Design
            2.3 Aircraft Design
            2.4 Agricultural Machinery Design
          กลุ่มวิชาเลือก 3
            3.1 Automatic Control
            3.2 Digital Control
            3.3 Automotive Control
            3.4 Fluid Power Control
          กลุ่มวิชาเลือก 4
            4.1 Mechanical Vibration/ Vibration Control
          กลุ่มวิชาเลือก 5
            5.1 Internal Combustion Engines
            5.2 Combustion
          กลุ่มวิชาเลือก 6
            6.1 Air Conditioning
            6.2 Refrigeration/Freezing/Cold Storage
          กลุ่มวิชาเลือก 7
            7.1 Heat Transfer
            7.2 Thermal System Design
          กลุ่มวิชาเลือก 8
            8.1 Power Plant Engineering
            8.2 Ship Propulsion and Engines
            8.3 Aircraft Power Plant
            8.4 Power for Agricultural Systems

แบบทดสอบและการทดสอบ

      การอบรมเตรียมความพร้อม



   Copyright © 2013 ME-SUT. All rights reserved.

 


เกี่ยวกับเรา

หลักสูตร

บุคลากร

วิจัย/ร่วมมือ

แผนการเรียน

เอกสารเรียน

ข่าวสาร

กิจกรรม

ศิษย์เก่า

ทุน/กองทุน

นานาสาระ

เวบเกี่ยวข้อง

ME เฟซบุค


ข้อมูลเกร็ดความรู้
ใบประกอบวิชาชีพวิศวกรรม
คลังข้อสอบสภาวิศวกร
รู้วิธีเขียน เรียนได้เกรดเอ

ถาม-ตอบ อย่างไรให้ได้งาน