ชื่อหลักสูตร

วิศวกรรมศาสตรบัณฑิต วิศวกรรมเครื่องกล
Bachelor of Engineering Program in Mechanical Engineering

ชื่อปริญญา

วศ.บ. (วิศวกรรมเครื่องกล)(หลักสูตรก้าวหน้า)
B.Eng. (Mechanical Engineering)(Honor Program)

รายละเอียดการจัดหลักสูตร

    หลักสูตรเน้นทั้งภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติ เนื้อหาทุกรายวิชาในหลักสูตรถูกยกร่างขึ้นโดยคณะ กรรมการร่างหลักสูตร ซึ่งประกอบด้วยผู้ทรงคุณวุฒิจากภาคการศึกษาและภาคสถานประกอบการ โดยจะมีการยกร่างใหม่ทุกๆ 5 ปีเพื่อให้ทันกับองค์ความรู้ใหม่ๆ และเทคโนโลยีที่เปลี่ยนไป เนื้อหามีความครอบคลุมตามที่สภาวิศวกรกำหนด และเป็นไปตามมาตรฐานของ สกอ (สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา) หลักสูตรของสาขาวิชาวิศวกรรมเครื่องกลจึงได้รับการรับรองมาโดยตลอด นักศึกษาที่จบหลักสูตรสามารถนำไปใช้ประกอบการขอใบอนุญาติประกอบวิชาชีพวิศวกรรม (ใบ กว.) ได้ สังเขปของหลักหลักสูตรมีดังนี้
    - หลักสูตร 4 ปี หรือ 12 ภาคการศึกษา (ระบบไตรภาค)
    - หน่วยกิตเรียนทั้งหมด 192 หน่วยกิต (มากกว่าหลักสูตรปกติ 5 หน่วยกิต)
    - ปีที่ 1 เรียนรายวิชาพื้นฐานคณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ และวิชาศึกษาทั่วไป
    - ปีที่ 2 เรียนรายวิชาพื้นฐานทางด้านวิศวกรรม
    - ปีที่ 3 เรียนรายวิชาเฉพาะทางด้านวิศวกรรมเครื่องกล
    - ปีที่ 4 เรียนปฏิบัติการวิศวกรรมเครื่องกล ทำโครงงานวิศวกรรม และออกสหกิจศึกษา
    - นำรายวิชาบังคับระดับปริญญาโทจำนวนหนึ่งมาเรียนเป็นวิชาเลือกบังคับในหลักสูตร และสามารถโอนหน่วยกิตดังกล่าวเข้าศึกษาต่อระดับปริญญาโทได้ทันทีเมื่อเรียนจบปริญญาตรี
    - ตามแผนหลักสูตรนักศึกษาสามารถจบปริญญาโทได้ภายใน 1 ปีการศึกษาหลังจากนั้น (หรือเรียนตรี-โทสำเร็จภายใน 5 ปีการศึกษา)

รายละเอียดร่างหลักสูตร

ลักษณะการประกอบวิชาชีพ

    - ลักษณะการประกอบวิชาชีพเช่นเดียวกับผู้ที่จบหลักสูตรแบบปกติ
    - งานสายวิชาการและนักวิจัย เช่น อาจารย์สอนหนังสือระดับอุดมศึกษา นักวิจัยในหน่วยงานของรัฐ อาทิ NTEC, MTEC, BIOTECT เป็นต้น

คุณสมบัติของผู้ที่จะเข้าศึกษา

นักศึกษาหลักสูตรวิศซกรรมเครื่องกลที่มีผลการเรียนอยู่ในเกณฑ์ดี และสนใจศึกษาต่อในระดับปริญญาโทด้านวิศวกรรมเครื่องกล

คำถามที่ถามบ่อย

- โปรแกรมก้าวหน้าต่างจากโปรแกรมปกติอย่างไร?
  นักศึกษาโปรแกรมก้าวหน้าต้องเรียนรายบังคับเพิ่มเติมจำนวน 3 วิชา รวม 12 หน่วยกิต ดังนี้
    - คณิตศาสตร์ขั้นสูงสำหรับวิศวกรรมเครื่องกล
    - ระเบียบวิธีเชิงตัวเลขขั้นสูงสำหรับวิศวกรรมเครื่องกล
    - กลศาสตร์สารเนื้อต่อเนื่อง
รวมหน่วยกิตวิชาบังคับที่ต้องเรียนทั้งสิ้น 60 หน่วยกิต (โปรแกรมปกติเรียนวิชาบังคับ 48 หน่วยกิต) และเรียนวิชาเลือกบังคับ 9 หน่วยกิต หรือ 3 รายวิชา (โปรแกรมปกติเรียนวิชาเลือกบังคับ 16 หน่วยกิต หรือราว 4-6 รายวิชา) ดังนั้น
    1) นักศึกษาโปรแกรมปกติ ไม่ต้องเรียนวิชาบังคับเพิ่มเติม 12 หน่วยกิต แต่เรียนวิชาเลือกบังคับ 16 หน่วยกิตในกลุ่มที่จัดไว้ให้สำหรับโปรแกรมปกติ อย่างไรก็ตาม นักศึกษาสามารถเรียนต่อปริญญาโทได้เช่นกันเมื่อจบ เพียงแต่ต้องไปเรียนวิชาบังคับเพิ่มเติมดังกล่าวในช่วงที่เรียนปริญญาโท
    2) นักศึกษาโปรแกรมก้าวหน้าที่ไม่มีแผนจะเรียนต่อปริญญาโท (เพียงต้องการจบในเครดิตโปรแกรมก้าวหน้า) ให้เรียนวิชาบังคับเพิ่มเติม 12 หน่วยกิต และเรียนวิชาเลือกบังคับ 9 หน่วยกิตเดียวกันกับที่โปรแกรมปกติเรียน
    3) นักศึกษาโปรแกรมก้าวหน้าที่วางแผนจะเรียนต่อปริญญาโท ให้เรียนวิชาบังคับเพิ่มเติม 12 หน่วยกิต (และควรได้เกรด B ขึ้นไป มิเช่นนั้นอาจต้องกลับไปเรียนวิชานั้นซ้ำตอนที่เรียนปริญญาโท) และควรเลือกเรียนวิชาเลือกบังคับ 9 หน่วยกิต ด้วยรายวิชาเลือกบังคับของระดับปริญญาโท

- เกรดน้อย เรียนไม่ค่อยเก่ง จะเรียนหลักสูตรก้าวหน้าได้ไหม?
  หากนักศึกษามีความตั้งใจ มุ่งมั่น ขยันอย่างเพียงพอก็สามารถเข้าเรียนในโปรแกรมก้าวหน้าได้เช่นเดียวกัน ไม่มีข้อห้ามอันใดที่บังคับไม่ให้ผู้ที่เกรดน้อยเรียนในโปรแกรมก้าวหน้า โปรแกรมก้าวหน้าออกแบบเพื่ออำนวยความสะดวกแก่ผู้ที่วางแผนจะเรียนปริญญาโทต่อทันที่หลังจบปริญญาตรี เป็นช่องทางด่วนให้ก้าวสู่เส้นทางปริญญาโทได้ตั้งแต่ยังเรียนปริญญาตรี นักศึกษาสามารถจบโปรแกรมก้าวหน้าโดยไม่จำเป็นต้องเรียนต่อก็ได้

- หากเข้าโปรแกรมก้าวหน้าแล้ว ภายหลังพบว่าไม่ชอบหรือเรียนไม่ไหว จะสามารถกลับเข้าโปรแกรมปกติภายหลังได้หรือไม่ และจะทำให้จบล่าช้าหรือไม่?
  โปรแกรมก้าวหน้าและโปรแกรมปกติต่างกันที่วิชาบังคับเพิ่มเติม 3 รายวิชาเท่านั้น หากพบว่าไม่สามารถเรียนจนครบทั้งหมด 3 รายวิชานั้นได้ นักศึกษาก็จะมีสถานภาพเป็นนักศึกษาโปรแกรมปกติเช่นเดิม (โดยวิชาบังคับเพิ่มเติมที่เรียนไปบางตัวใน 3 วิชานั้นสามารถเทียบเป็นวิชาเลือกเสรีได้) ซึ่งจะไม่ทำให้นักศึกษาจบช้า