ชื่อหลักสูตร

วิศวกรรมศาสตรบัณฑิต วิศวกรรมยานยนต์
Bachelor of Engineering Program in Mechanical Engineering

ชื่อปริญญา

วศ.บ. (วิศวกรรมยานยนต์)
B.Eng. (Automotive Engineering)


รายละเอียดการจัดหลักสูตร

   - หลักสูตร 4 ปี หรือ 12 ภาคการศึกษา (ระบบไตรภาค)
   - หน่วยกิตเรียนทั้งหมด 195 หน่วยกิต
   - ปีที่ 1 เรียนรายวิชาพื้นฐานคณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ และวิชาศึกษาทั่วไป
   - ปีที่ 2 เรียนรายวิชาพื้นฐานทางด้านวิศวกรรม
   - ปีที่ 3 เรียนรายวิชาเฉพาะทางด้านวิศวกรรมยานยนต์
   - ปีที่ 4 เรียนปฏิบัติการวิศวกรรมยานยนต์ ทำโครงงานวิศวกรรม และออกสหกิจศึกษา
   - หลักสูตรออกแบบให้สามารถจบการศึกษาได้ภายใน 11 ภาคการศึกษา (3 ปี กับ 2 ภาคการศึกษา)

รายละเอียดร่างหลักสูตร

ลักษณะการประกอบวิชาชีพ

    งานด้านวิศวกรรมยานยนต์มีหลากหลายรูปแบบ ทั้งในสายงานตรงตามวิชาชีพคือตามบริษัทผลิตยานยนต์ และชิ้นส่วนยานยนต์ต่างๆ ซึ่งในประเทศไทยมีกว่า 1,500 บริษัท และในสายงานอ้อมคือสามารถทำงานในสายวิชาชีพวิศวกรรรมเครื่องกลได้เช่นเดียวกัน ตัวอย่างลักษณะการประกอบวิชาชีพดังนี้
   - วิศวกรในโรงงานอุตสาหกรรมการผลิตและประกอบชิ้นส่วนยานยนต์
   - วิศวกรในโรงงานอุตสาหกรรมเกี่ยวกับสายการประกอบยานยนต์
   - วิศวกรในสถาบันหรือหน่วยงานตรวจสอบคุณภาพยานยนต์
   - ประกอบอาชีพอิสระส่วนตัว ธุรกิจด้านยานยนต์
   - นักวิชาการ นักวิจัยหรือรับราชการในกรมขนส่งทางบก การรถไฟแห่งประเทศไทย กระทรวงพลังงาน กระทรวงคมนาคม กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

  

  
    (บน) วิศวกรยานยนต์กับงานออกแบบและควบคุมกระบวนการผลิต การขึ้นรูปโครง ระบบช่วงล่าง ระบบกันสะเทือน เครื่องยนต์ และชิ้นส่วนยานยนต์ต่างๆ ในภาคอุตสาหกรรมยานยนต์และอุตสาหกรรมผลิตชิ้นส่วนยานยนต์

คุณสมบัติของผู้ที่จะเข้าศึกษา

     มีความสนใจทางด้านการออกแบบชิ้นส่วนยานยนต์ เทคโนโลยียานยนต์

ข้อมูลประกอบ

จำนวนนักศึกษาวิศวกรรมยานยนต์ที่จบการศึกษา


การได้งานของนักศึกษาวิศวกรรมยานยนต์


ฐานเงินเดือนเริ่มต้นของนักศึกษาวิศวกรรมยานยนต์

หมายเหตุ: รายได้ที่ปรากฏยังไม่รวมค่าสวัสดิการต่างๆ และค่าการทำงานล่วงเวลาที่จะได้รับเพิ่มเติม

คำถามที่ถามบ่อย

- วิศวกรรมยานยนต์ต่างจากวิศวกรรมเครื่องกลอย่างไร?
    วิศวกรรมยานยนต์เป็นสายวิชาชีพหนึ่งของวิศวกรรมเครื่องกล เป็นงานเครื่องกลที่เน้นลงไปในด้านการออกแบบและผลิตยานยนต์และชิ้นส่วนยานยนต์โดยเฉพาะ เหตุเพราะเทคโนโลยียานยนต์มีการเปลี่ยนแปลงที่รวดเร็วมาก เป็นอุตสาหกรรมที่มีมูลค่าและการแข่งขันที่สูงเป็นอันดับต้นๆ ของประเทศเมื่อเทียบกับอุตสาหกรรมอื่น ดังนั้น จึงจำป็นต้องอาศัยบุคลากรที่มีความเชี่ยวชาญเฉพาะทางเข้าไปออกแบบและควบคุมกระบวนการผลิต ให้เป็นไปตามมาตรฐานที่กำหนด วิศวกรรมยานยนต์จึงถูกสร้างขึ้นมาเพื่อรองรับงานลักษณะดังกล่าวนี้ ส่วนวิศวกรรมเครื่องกลเป็นวิชาชีพที่กว้างๆ ไม่เฉพาะเจาะจงอย่างชัดเจน วิชาที่เรียนจึงมีเนื้อหาที่คลุมกว้างๆ และหลากหลาย ในขณะที่วิศวกรรมยานยนต์การเรียนค่อนข้างเจาะจงมากกว่า เช่น นศ วิศวกรรมเครื่องกลเรียนรายวิชาการทำความเย็นและการปรับอากาศ ในขณะที่ นศ วิศวกรรมยานยนต์เรียนรายวิชาการปรับอากาศในรถยนต์ ซึ่งเป็นศาสตร์ความรู้เดียวกันเพียงแต่เจาะจงกับปัญหามากกว่า เป็นต้น

- จบยานยนต์แล้วไปทำงานทางด้านเครื่องกลได้ไหม?
    รายวิชาชีพกว่าครึ่งที่ นศ วิศวกรรมยานยนต์เรียนเป็นองค์ความรู้เดียวกับที่ นศ วิศวกรรมเครื่องกลเรียน หลายรายวิชานั่งเรียนด้วยกัน หลักสูตรวิศวกรรมยานยนต์ถูกออกแบบให้สามารถขอใบประกอบวิชาชีพวิศวกรรมเครื่องกลได้ หมายความว่า องค์ความรู้ทางวิศวกรรมของ นศ วิศวกรรมเครื่องกลกับ นศ วิศวกรรมยานยนต์สร้างมาจากพื้นฐานเดียวกัน ดังนั้น ผู้ที่จบวิศวกรรมยานยนต์จึงสามารถทำงานด้านวิศวกรรมเครื่องกลได้