ชื่อหลักสูตร

วิศวกรรมศาสตรบัณฑิต วิศวกรรมอากาศยาน
Bachelor of Engineering Program in Aeronautical Engineering

ชื่อปริญญา

วศ.บ. (วิศวกรรมอากาศยาน)
B.Eng. (Aeronautical Engineering)

รายละเอียดการจัดหลักสูตร

   - หลักสูตร 4 ปี หรือ 12 ภาคการศึกษา (ระบบไตรภาค)
   - หน่วยกิตเรียนทั้งหมด 195 หน่วยกิต
   - ปีที่ 1 เรียนรายวิชาพื้นฐานคณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ และวิชาศึกษาทั่วไป
   - ปีที่ 2 เรียนรายวิชาพื้นฐานทางด้านวิศวกรรม
   - ปีที่ 3 เรียนรายวิชาเฉพาะทางด้านวิศวกรรมยอากาศยาน
   - ปีที่ 4 เรียนปฏิบัติการวิศวกรรมยานยนต์ ทำโครงงานวิศวกรรม และออกสหกิจศึกษา
   - หลักสูตรออกแบบให้สามารถจบการศึกษาได้ภายใน 11 ภาคการศึกษา (3 ปี กับ 2 ภาคการศึกษา)

รายละเอียดร่างหลักสูตร

ลักษณะการประกอบวิชาชีพ

   - วิศวกรในอุตสากรรมการบินและซ่อมบำรุงอากาศยาน วิศวกรประจำสายการบินต่างๆ
   - วิศวกรการผลิต อุตสาหกรรมด้านเครื่องต้นกำลังอากาศยาน เครื่องวัดอากาศยาน ชิ้นส่วนอากาศยาน
   - วิศวกรออกแบบวิเคราะห์ทางวิศวกรรม โครงสร้าง และอากาศพลศาสตร์ต่างๆ เช่น เครื่องบิน ยานยนต์ กังหันลม เป็นต้น
   - งานที่ใช้ความรู้พื้นฐานด้านวิศวกรรมเครื่องกลทั่วไป


คุณสมบัติของผู้ที่จะเข้าศึกษา

   - ความสามารถทางด้านภาษาอังกฤษอยู่ในระดับดี
   - สนใจงานด้านซ่อมบำรุงอากาศยาน งานวางแผนซ่อมบำรุง แอร์ไลเนอร์

ข้อมูลประกอบ

จำนวนนักศึกษาวิศวกรรมอากาศยานที่จบการศึกษา


การได้งานของนักศึกษาวิศวกรรมอากาศยาน


ฐานเงินเดือนเริ่มต้นของนักศึกษาวิศวกรรมอากาศยาน

หมายเหตุ: รายได้ที่ปรากฏยังไม่รวมค่าสวัสดิการต่างๆ และค่าการทำงานล่วงเวลาที่จะได้รับเพิ่มเติม

คำถามที่ถามบ่อย

- วิศวกรรมอากาศยานต่างจากวิศวกรรมเครื่องกลอย่างไร?
    วิศวกรรมอากาศยานเป็นสายวิชาชีพหนึ่งของวิศวกรรมเครื่องกล เป็นงานเครื่องกลอากาศยานที่เน้นลงไปในด้านการวางแผนและซ่อมบำรุงอากาศยานโดยเฉพาะ เพราะเทคโนโลยีอากาศยานเป็นเทคโนโลยีขั้นสูงและมีความจำเพาะเจาะจงมาก อุตสาหกรรมที่เกี่ยวกับการบินและซ่อมบำรุงอากาศยานจึงจำป็นต้องอาศัยบุคลากรที่มีความรู้และความเชี่ยวชาญเฉพาะทางเข้าไปดูแลให้เป็นไปตามมาตรฐานนานาชาติที่กำหนด วิศวกรรมอากาศยานจึงถูกสร้างขึ้นเพื่อรองรับงานลักษณะดังกล่าวนี้ ส่วนวิศวกรรมเครื่องกลเป็นวิชาชีพที่กว้างๆ ไม่เฉพาะเจาะจงอย่างชัดเจน วิชาที่เรียนจึงมีเนื้อหาที่คลุมกว้างๆ และหลากหลาย ในขณะที่วิศวกรรมยานยนต์การเรียนค่อนข้างเจาะจงมากกว่า เช่น นศ วิศวกรรมเครื่องกลเรียนรายวิชาการทำความเย็นและการปรับอากาศ ในขณะที่ นศ วิศวกรรมอากาศยานเรียนรายวิชาการทำความเย็นปรับความดันอากาศยาน ซึ่งเป็นฐานความรู้เดียวกันเพียงแต่เจาะจงกับปัญหามากกว่า เป็นต้น

- วิศวกรรมอากาศยาน มทส ต่างจากของมหาวิทยาลัยอื่นอย่างไร?
    หลักสูตรด้านวิศวกรรมอากาศยานมีเปิดให้เรียนเพียง 4 แห่งในมวิทยาลัยของไทย (ข้อมูลปี 2556) หลักสูตรในสถาบันอื่นเน้นไปทางด้านการวิเคราะห์และออกแบบอากาศยาน แต่หลักสูตรของ มทส เน้นไปทางด้านการซ่อมบำรุงอากาศยาน เป็นการวางหลักสูตรให้สอดคล้องนโยบายของภาครัฐที่จะผลักดันให้ประเทศเป็นศูนย์กลางการบินและอุตสาหกรรมการบินในภูมิภาค และตรงตามความต้องการของอุตสาหกรมการบินในประเทศซึ่งส่วนใหญ่ล้วนเป็นอุตสาหกรรมซ่อมบำรุงอากาศยาน

- อยากเรียนอากาศยานต้องมีพื้นฐานอย่างไร?
    อย่างแรกต้องมีความชอบในลักษณะงานด้านการซ่อมบำรุงอากาศยาน และการวางแผนการซ่อมบำรุง ควรมีพื้นฐานในด้านวิชาคำนวณในระดับดี โดยเฉพาะวิชาด้านกลศาสตร์พื้นฐานทางวิศวกรรม อาทิ กลศาสตร์ของไหล กลศาสตร์วัสดุ พลศาสตร์วิศวกรรม เป็นต้น รวมถึงงานด้านการเขียนแบบวิศวกรรม และที่ขาดไม่ได้คือควรมีทักษะการสื่อสารภาษาอังกฤษในระดับที่พอใช้การได้ ทั้งการอ่าน การฟัง การเขียน และการสนทนา เพราะลักษณะงานทางด้านอากาศยานต้องใช้ทักษะเหล่านี้ค่อนข้างมาก

- สถานประกอบการใดบ้างที่สามารถเข้าทำงานได้?
1. สายการบินต่าง ๆ ทั้งสายการบินประจำประเทศ และสายการบินชั้นประหยัด เช่น Thai Airways, Bangkok Airways, Thai AirAsia, Nok Air เป็นต้น
2. บริษัททำธุรกิจทางด้านเครื่องบินเช่าเหมาลำ (Charter Flight) และโรงเรียนการบิน เช่น Bangkok Aviation Center (BAC), Royal Group เป็นต้น
3. บริษัท Third Party ในส่วนของการซ่อมบำรุงอากาศยาน เช่น Thai Aviation Industry (TAI), Triumph Aviation Services Asia, Ltd. เป็นต้น
4. บริษัททางด้านสายการผลิตชิ้นส่วนอากาศยาน เช่น Aeroworks, Asia Westron อีกทั้งบริษัททางด้านผลิตชิ้นส่วนวัสดุผสม (Composite) เช่น Tiger Composite, Xtreme Composite เป็นต้น
5. บริษัททางด้านเทคโนโลยีอากาศยานที่เกี่ยวข้องกับ เครื่องบินรบรุ่นใหม่ อาทิ เครื่องบินรบ Gripen ซึ่งเข้า ประจำในกองทัพอากาศไทย ที่กำลังจะเกิดขึ้นอีกมากมาย และทางด้านเทคโนโลยีอากาศยานไร้นักบิน (Unmanned Aerial Vehicles : UAVs)